แนวทางการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำติดเขตเมืองบึงหัวทะเล

Main Article Content

อภินันท์ สีม่วงงาม
รวี หาญเผชิญ

Abstract

แนวทางการจัดการ การใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่บึงหัวทะเล ตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน ที่ได้จากการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ด้วยทฤษฎีด้านการผังเมือง เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ในอนาคตของพื้นที่ศึกษา บทบาทของพื้นที่ศึกษาเดิมมีศักยภาพของการเป็นแหล่งอาหาร แหล่งประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม โครงสร้างและบทบาททางนิเวศภูมิทัศน์มาตั้งแต่ครั้งอดีต จากนโยบายและโครงการพัฒนาของภาครัฐในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา รวมถึงการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 1 ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงกับประชากรในพื้นที่ศึกษา การตั้งถิ่นฐานตามแนวเส้นทางคมนาคมมีความหนาแน่นขึ้น การผลิตสินค้าเกษตรที่มุ่งเพื่อการขายมากขึ้น การอพยพจากชนบทเข้าสู่ตัวเมืองของประชากรภายนอกพื้นที่อันเนื่องจากความต้องการแรงงานในการผลิต สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความต้องการพื้นที่ดินเพื่อนำมาพัฒนารองรับกิจกรรมต่างๆ การเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยที่ดินในพื้นที่บางส่วนส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและระบบนิเวศเดิม ประชากรเดิมในพื้นที่ที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการพัฒนาได้จึงต้องย้ายไปหาพื้นที่เพื่อการประกอบอาชีพเกษตรในแหล่งอื่น แนวทางในการพัฒนาพื้นที่บึงหัวทะเลและพื้นที่โดยรอบได้วางอยู่บนหลักการของศักยภาพในการพัฒนาและความสามารถในการรองรับของพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนต่อไป


Guideline for Manage Wetland Near the City Huathalae Lake

The aim of this study is to find a guidance for development of the current land use in order to set it as a policy of a wetland area; Huathalae Lake in Huathalae Sub-district, Mueang District, Nakhon Ratchasima Province. An analysis of area’s potential is used in the research method. In the past, this Huathalae area had an important role for Nakhon Ratchasima people and community’s food resources, agriculture and ecological landscape. In the current years, the need of land use has been changed after Thailand economy had been developed since fifty years ago. In the time and The First National Economic Development Plan in Thailand. These great changes had impacted on people’s career. Agricultural products were produced for more trading, particularly for dealing in the main transportation routes. Also an increasing of people immigration from other locations caused of highly needs of residential land in Nakhon Ratchasima Province. Some areas where original people used for agriculture were replaced by new houses. A lot of people who used to work on a farmland had moved to work as employees for service business in the city and in Suranaree Industrial Zone. However there were some people, who could not adjust their living, moved away to find new home for agricultural career. The results show that the feasible process for development Huathalae lake and the areas around is set on a potential’s principle in area improvement and capacity. Furthermore, the concept for a suitable land using that is not exceeded its capable competence is also improved so that to reach to sustainable development

Article Details

Section
บทความวิจัย