การประยุกต์ลวดลายศิลปะปูนปั้นวัดจุฬามณีเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบ เครื่องประดับเงิน เสริมสร้างอัตลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะปูนปั้นของวัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก 2.) เพื่อศึกษากระบวนการทำเครื่องประดับเงิน 3.) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดเครื่องประดับเงินในรูปแบบใหม่ ที่มีการประยุกต์นำลวดลายศิลปะปูนปั้นวัดจุฬามณีมาใช้ เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลก 4.) เพื่อประเมินความพึงพอใจ ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการออกแบบเครื่องประดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญการออกแบบศึกษาประเมินความพึงพอใจ ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ โดยการวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายและผู้บริโภคเครื่องประดับเงินในจังหวัดพิษณุโลกประมาณ 200 คน ต่อสัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายและผู้บริโภค เครื่องประดับเงินในจังหวัดพิษณุโลกจำนวน 30 คน
สภาพทั่วไปของลวดลายปูนปั้นทรงปรางค์วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นศิลปะสมัยอยุธยา พ.ศ. 2007 รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ และกระบวนการทำเครื่องประดับเงิน เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเงิน 3 ประเภทได้แก่ สร้อยคอ แหวน ต่างหู ในรูปแบบใหม่ เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ของ จังหวัดพิษณุโลก
ผลจากการวิจัยพบว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับในครั้งนี้จะสามารถส่งเสริมภาพลักษณ์ให้แก่จังหวัดพิษณุโลกได้มากขึ้น
Product Design of Silver Jewelry from Art Stucco of Wat ChulaManee, For Promoting Identities of Phitsanoloke Province
The purposes of this research are many reasons to study. First, learning about the unique art style stucco of Chulamanee temple in Phitsanulok province. Second, study about the jewelry made of silver. Third, design jewelry’s collection made of silver to a new forms by applied pattern of stucco Chulamanee temple were used in making jewelry’s are unique of Phitsanulok. Finally, assess the satisfaction of the sampler about development of the product. The instruments used in the research are survey of experts and study the attitudes of consumer’s satisfaction with the development of a product. Moreover, the research section of the data were analyzed by using descriptive statistics. In addition the population in the research include manufacturers, distributors and consumers of silver jewelry in Phitsanulok are 200 peoples per week. The sampler used in the study includes manufacturers, distributors and consumers of silver jewelry in Phitsanulok are 30 peoples. General pattern of the temple pagoda-shaped stucco Chulamanee is the art of the Ayutthaya period in 2007 during the reign of King Baromatrilokahnaj and processes to design silver jewelry three types are necklace, ring and earrings in the new forms to create the identity of Phitsanulok.
The results of the research was to design jewelry, this can create even more images to Phitsanulok.