การศึกษาเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์จากใบกะพ้อในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

เจษฎา พัตรานนท์
เรวัต สุขสิกาญจน์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของใบกะพ้อเพื่อเป็นข้อมูลในการทดลองออกแบบผลิตภัณฑ์ ศึกษาศักยภาพในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใบกะพ้อของชุมชนแบบมีส่วนร่วม และทดลองออกแบบและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีลำดับขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1. ระยะก่อนทำการวิจัย 2. ระยะของการทำวิจัย 3. ระยะของการจัดทำแผน 4. ระยะการนำแผนไปปฏิบัติ 5. ระยะติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน สรุปผลการวิจัย ด้านคุณสมบัติใบกะพ้อ เป็นพืชตระกูลปาล์มที่มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะใบเป็นรูปพัด ก้านใบยาว มียอดสีขาว ใบลื่นเป็นมัน ก้านใบเหนียว พบได้ทั่วไปบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ลำธาร และชายขอบป่าพรุ มีความเหนียวนุ่มปานกลาง สามารถนำมาย้อมสีได้ ตอกนิ่ม ก้านสั้น มีความกรอบ ฉีกขาดง่าย และจัดรูปทรงได้ยาก ราษฎรในท้องถิ่นส่วนใหญ่ได้นำต้นกะพ้อไปปลูกเป็นพืชเสริมในสวนยาง การศึกษาศักยภาพในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากใบกะพ้อของชุมชนแบบมีส่วนร่วม ทดลองออกแบบและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์จากใบกะพ้อ ชุมชนมีความพร้อมในการมีส่วนร่วมออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ผลดีมาก ทั้งด้านของวัตถุดิบที่มีรองรับการผลิตในอนาคต ด้านของผู้ผลิตที่มีความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองเป็นทุนเดิมและด้านของการสืบสานภูมิปัญญา ส่งเสริมให้เยาวชนในชุมชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ในการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ใช้วิธีควบคู่ไปกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีพื้นฐานด้านการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญ ความต้องการของผู้เข้ารับการอบรมต้องการออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องประดับมากที่สุด ศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์จากใบกะพ้อของชุมชนแบบมีส่วนร่วมในภาพรวมมีศักยภาพอยู่ในระดับมาก ( \inline \dpi{80} \bar{X} = 4.19)



A Study for product design from Fan Palm Leaves in Nakhon Si Thammarat

The objectives of this research aimed to study quality of Fan Palm Leaves to be data for product design together with villagers and made the prototype of Fan Palm Leaves. The methodology was participatory action research according to these process ; 1) Pre-Research Phase 2) Research Phase 3) Planning Phase 4) Implementation Phase 5) Monitoring and Evaluation Phase. The summarization was Fan Palm Leaves was palm specy. Its leaf was like the fan, oily and sticky. It was acquired generally at the border of the river. With its quality, Fan Palm Leaves was moderately sticky, dyably, crisply, easy to be torn, and difficult to be shaped. The most of villagers brought Fan Palm Leaves to plant at parawood garden. According to the results, villager had readiness to mutual design and develop very well. For material, it was found that there was too much material to support in the future. For producer, they had a need to develop

their products. Moreover, there was a need to enhance local wisdom, promote young people to spend time usefully. For the workshop with the local community, villagers were taught by specialists. Training was held twice a month. The results revealed that Fan Palm Leaves was able to be designed with varieties patterns and styles. There would be re-design together with the other material. For product design, the trainees revealed that they would like to design Fan Palm Leaves as persons who developed products, and 30 persons of targeted group, the level of abilities for Fan Palm Leaves product development was high ( \inline \dpi{80} \bar{X} = 4.19).

Article Details

Section
บทความวิจัย