ผลของการ์ตูนแอนิเมชันที่มีต่อการรับรู้และจิตสำนึกด้านวัฒนธรรมของชาวจังหวัดศรีสะเกษ Effects of Cartoon Animation in Perception and Awareness towards Cultures of Sisaket Residents

Main Article Content

กิจติพงษ์ ประชาชิต
นิรัช สุดสังข์
วิติยา ปิดตังนาโพธิ์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการ์ตูนแอนิเมชันที่ส่งเสริมการรับรู้และจิตสำนึกด้านวัฒนธรรมของชาว
จังหวัดศรีสะเกษ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการรับรู้และผลของจิตสำนึกด้านวัฒนธรรมผ่านการ์ตูนแอนิเมชัน โดยจำแนกตาม
เพศ อายุ การศึกษา และอาชีพของชาวจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเอกสารในการ
สังเคราะห์องค์ความรู้และกำหนดเนื้อเรื่องของการ์ตูน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และปราชญ์ชาวบ้าน
ทางด้านวัฒนธรรม อีกทั้งยังได้ทำการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อสอบถามความคิดเห็นปัจจัยในการนำไปใช้ในการออกแบบการ์ตูน
ทดสอบการรับรู้ ทดสอบจิตสำนึก และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยในครั้งนี้ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นชาวจังหวัดศรี
สะเกษ 4 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียนระดับประถมศึกษา นักเรียนระดับมัธยมศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรี และบุคคลทั่วไป (ผู้นำ
หมู่บ้าน) รวมใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,413 คน ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า เนื้อเรื่องได้ศึกษาจากตำนานจังหวัดศรีสะเกษ สมัย
กรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2302 การเขียนบทผู้วิจัยได้แต่งเติมเหตุการณ์บางอย่างเข้าไป เพื่อเชื่อมเรื่องราวให้สนุก น่าติดตาม และ
สอดแทรกวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษเข้าไปอย่างลงตัว เช่น วัฒนธรรมการแต่งกาย ความเชื่อ พิธีกรรม และภาษา รูปแบบตัว
ละครที่ใช้ในการออกแบบ แบบการ์ตูน SD (Super Deformation) 5 ส่วน ซึ่งเป็นผลการสำรวจความสนใจรูปแบบตัวละครจาก
กลุ่มทดลอง การเคลื่อนไหวมีความเร็วพอเหมาะกับบุคลิกของตัวละคร และโครงเรื่อง การใช้โทนสี ใช้โทนน้ำตาล ส้ม และเขียว
ได้โดยการเปรียบเทียบค่าสีจากภาพถ่ายในบริบทที่ใกล้เคียงกัน ทำให้สื่อถึงความเป็นอีสานได้ดี เสียงพากย์ผู้วิจัยได้กำหนดให้เป็น
ภาษาอีสาน พากย์โดยท้าวนพดล หรือนายนพดล สมบูรณ์ นักพากษ์เสียงอีสานชื่อดัง ที่เก่งเรื่องใส่มุกตลกในภาพยนตร์ ทำให้
การ์ตูนแอนิเมชันสนุก สามารถบ่งบอกความเป็นอีสาน และเข้าถึงแก่นแท้ของอารมณ์คนอีสานได้เป็นอย่างดี จากการชมการ์ตูน
แอนิเมชัน เรื่องดงลำดวน ส่งผลให้การรับรู้ของชาวศรีสะเกษทางด้านวัฒนธรรม ประเภทมุขปาฐะ (นิทานพื้นบ้าน) ประเภท
ประเพณีพิธีกรรม ประเภทงานช่างฝีมือ ประเภทศิลปะการแสดง ประเภทความรู้เรื่องจักรวาล และทรัพยากรธรรมชาติ พบว่า
กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกัน และมีอายุต่างกัน มีระดับการรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน การรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษไม่แตกต่างกัน ส่วน
ระดับจิตสำนึก พบว่า เพศ และอาชีพต่างกัน มีระดับจิตสำนึกเกี่ยวกับวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ไม่แตกต่างกัน ด้านอายุ และ
ระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับจิตสำนึกเกี่ยวกับวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Cartoon Animation is a powerful medium to access the new generations. In the addition, it is a
medium that can stimulate a complicated knowledge into a common one, and also allow learner to enjoy
the lesson. The local culture can be implicated in content of the cartoon to transmit the knowledge to the
learner and let them remember what they’ve learned easily. This research recognizes the importance of
oral tradition (a type of culture) of Sisaket province and the ability of the animation which is
recommended as a medium one way to disseminate the knowledge of Sisaket province’s oral tradition and
identity of Sisaket culture to Sisaket people and others. This research aims to develop cartoon animation in
order to promote the knowledge of the culture and to provide the awareness of culture to Sisaket people.
The experimental design was used in this research to compare the cultural awareness before and after
watching the animation regardless of genders, ages, educations, and occupations of Sisaket people as the
factors. The methodology of this research was mixed method; experimental design (quantitative), analyzed
the data from the document (qualitative) to form the content of the story, interviewing cultural specialists
and local philosophers. In addition, the surveys also used in this research to survey about the factors
involving in the animation designing, perception assessment, awareness assessment, and complacency of
the participants. The participants of this research were four groups of Sisaket people including elementary
school students, secondary school students, undergraduate students, and normal people (village leader).
The total numbers of the participant were 1413 people.The result of this study reviewed that factor such as
genders, ages, educations, and occupations showed the difference level of cultural awareness and
consciousness, statistically significant at the .05. Moreover, designing and developing animated cartoons
using the research process to participate in the development of a character and the participation of cultural
specialists in developing cartoon animation make the overall quality, designing of animation, and all the
sides’ satisfaction of cartoon animation statistically significant at the .05.

Article Details

Section
บทความวิจัย