ศึกษาและพัฒนากระบวนการเพิ่มจำนวนเฉดสีย้อมธรรมชาติบนด้ายฝ้ายด้วยห้อม เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ Study and Development Process to Increase Natural dyes's Tone Variation on the Cotton Yarn from Strobilanthes flaccidifolius for Textile Produc

Main Article Content

สุวิมล หงษ์สาม
ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา
พิชัย สดภิบาล

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 4 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการย้อมสีผ้าฝ้ายพื้นเมืองในพื้นที่
ภาคเหนือ 2) เพื่อพัฒนากระบวนการเพิ่มจำนวนเฉดสีย้อมธรรมชาติบนด้ายฝ้ายด้วยห้อม 3) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง
จากกระบวนการเพิ่มจำนวนเฉดสีย้อมธรรมชาติบนด้ายฝ้ายด้วยห้อม เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ 4) เพื่อ
ประเมินผลค่าระดับความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อกระบวนการเพิ่มจำนวนเฉดสีย้อมธรรมชาติบนด้ายฝ้ายด้วยห้อมที่พัฒนา
ใหม่ และผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง ที่รับการพัฒนาแล้ว โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methodology)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองภาคเหนือที่เข้ารวมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง
ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทอผ้าพื้นเมือง จำนวน 5 กลุ่ม ใน 3 จังหวัดคือ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง
และจังหวัดพะเยา ผลการวิจัยสามารถจำแนกออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ 1) การศึกษากระบวนการย้อมสีผ้าฝ้ายพื้นเมืองพื้นที่
ภาคเหนือ พบว่า วัตถุดิบที่มีปริมาณมากและสามารถนำมาใช้ในการย้อมสีได้มีทั้งหมด 8 ชนิด คือ ห้อม ประดู่ ใบสัก ใบลำไย ใบ
มะม่วง ขมิ้น ใบหูกวาง และมะเกลือ 2) การพัฒนากระบวนการเพิ่มจำนวนเฉดสีย้อมธรรมชาติบนด้ายฝ้ายด้วยห้อม พบว่า
กระบวนการย้อมสีโดยการย้อมสีทับเพื่อให้เกิดเฉดสีใหม่ โดยใช้ห้อมเป็นตัวหลักในการย้อมสี ทำให้เกิดโทนสีที่มีความแตกต่าง
กันกับสีเดิม โดยเพิ่มสูตรการทดลองจำนวน 3 สูตร พบว่าสูตรที่ 3 ผ่านการประเมิน โดยคิดเป็นค่าร้อยละ 62.5% และ (x¯ =
3.51) อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก มีความเหมาะสมในแต่ละข้อของรายการประเมินความพึงพอใจ 3) พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอ
พื้นเมือง จากกระบวนการเพิ่มจำนวนเฉดสีย้อมธรรมชาติบนด้ายฝ้ายด้วยห้อมได้จำนวน 5 รูปแบบ เพื่อประยุกต์ใช้ในการ
ออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ พบว่าลวดลายรูปแบบที่ 1 (x¯ = 3.85) อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก มีความเหมาะสมในแต่ละข้อของ
รายการประเมินความพึงพอใจ 4) ประเมินผลค่าระดับความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อกระบวนการเพิ่มจำนวนเฉดสีย้อม
ธรรมชาติบนด้ายฝ้ายด้วยห้อมที่พัฒนาใหม่ และผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง ที่รับการพัฒนาแล้ว พบว่า (x¯ = 3.55 ) อยู่ในระดับ
เห็นด้วยมาก มีความเหมาะสมในแต่ละข้อของรายการประเมินความพึงพอใจ

 

The objective of the experimental research as following. 1) To study process of dyeing on local
cotton yarn in the northern region. 2) To develop processes of increasing the variety of natural dyes’ tone
on the cotton yarn by Strobilanthes flaccidifolius 3) To develop the native woven fabric products by
increasing the variety of natural dyes’tone on the cotton yarn from Strobilanthes flaccidifolius to apply for
textile products design. 4) To assess the consumer satisfaction on the processes of increasing the natural
dyes’s tone on the cotton yarn dyeing by the developed Strobilanthes flaccidifolius and native woven fabric
products. The Mixed Methodology is the method used for this research. The population and sample are
focusing on The group of a native cotton weaver in the northern region who joined in the OTOP project.
The group of the small and micro Community Enterprise (SMCE); the producer of a native woven fabric with
5 groups from 3 provinces that is Phare, Lampang and Phayao
The research result can be clarified in 4 parts as following. 1) studying process of dyeing on local
cotton yarn in the northern region. In generally, there are 8 types of raw material that appear as apply to a
dyeing process of. Hom, Baisak, Bailamyai, Baimamuang, Kamin, Baihukwang and Makuar 2) Developing
processes of increasing the natural dyes’s tone on the cotton yarn by Strobilanthes flaccidifolius found that
blending in majority ratio together with other natural dye from the various source of raw materials can
create a new tone, which different from the conventional tone. Doing the experiment for 3 formulas, found
that formula 3 fulfilled the evaluation with the result 62.5 % and (x¯ = 3.51) it can be referred that passing
on criteria assessment and having the suitable questionnaire, classifying in the high level of satisfaction 3)
Developing the native woven fabric products by increasing the variety of natural dyes’ tone on the cotton
yarn by Strobilanthes flaccidifolius for Textile Products Design. The researcher designs products in 5
patterns. The result shown that pattern 1 is the most favorite pattern was justified by (x¯ =3.85 ), it can be
referred that passing on criteria assessment, classifying in the high level of satisfaction. 4) Doing consumer
satisfaction assessment on the processes of increasing the variety of the natural dyes’s tone on the cotton
yarn with the developed Strobilanthes flaccidifolius and native woven fabric products. The result shown
that (x¯ = 3.55 ) , it can be referred that passing on criteria assessment and having the suitable
questionnaire, classifying in the high level of satisfaction.

Article Details

Section
บทความวิจัย