เรือนแถวไม้ในชุมชนแถบจังหวัดนครสวรรค์ กรณีศึกษา: ชุมชนตลาดแปดธันวา , Wooden Row Houses in Nakhon Sawan : A Case study of Talad Bhad Tanwa Community

Main Article Content

ช่อเพชร พานระลึก

Abstract

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อสำรวจลักษณะเรือนแถวไม้ดั้งเดิมในชุมชนท้องถิ่นแถบ จ.นครสวรรค์ ที่ยังคงหลงเหลือ
อยู่ในปัจจุบัน เป็นตัวอย่างการใช้ไม้ในการก่อสร้างบ้านเรือนของไทยในอดีตอันทรงคุณค่า ควรแก่การศึกษาเก็บเป็นฐานข้อมูลไว้
โดยมีชุมชนตลาดแปดธันวา ต.ท่าตะโก อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ เป็นพื้นที่ศึกษา การคัดเลือกเรือนแถวไม้กรณีตัวอย่าง จำนวน 9
หลัง มีเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกจาก 1. ลักษณะของเรือนแถวไม้ต้องยังคงรูปแบบเดิมไว้เป็นที่ประจักษ์ 2. เรือนแถวไม้ได้ถูก
เสนอแนะและได้รับการคัดเลือกจากประชาชน และผู้นำชุมชน ที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในพื้นที่เป็นอย่างดี เห็นควรให้
เก็บข้อมูลไว้ การศึกษาในครั้งนี้มีวิธีเก็บข้อมูลจากการสำรวจรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเรือนแถวไม้ และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้อยู่
อาศัย คนในชุมชน และผู้นำชุมชน (ซึ่งเป็นผู้นำสำรวจด้วย) การศึกษาพบว่า ชุมชนตลาดแปดธันวามีประชากรเชื้อสายจีนอยู่อาศัย
ค่อนข้างมาก มีบรรพบุรุษมาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2443 หรือในสมัยรัชกาลที่ 5 ประชาชนสมัยนั้นได้ทำการค้าขาย และสร้าง
ที่อยู่อาศัยเป็นเรือนแถวไม้ใกล้คลองท่าตะโก จากการศึกษาเรือนแถวไม้กรณีตัวอย่างในชุมชนตลาดแปดธันวา พบว่ามีลักษณะ
แตกต่างกันแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ 1) เรือนแถวไม้ชั้นเดียว จำนวน 3 หลัง 2)เรือนแถวไม้สองชั้นจำนวน 1หลัง 3) เรือนแถว
ไม้บริเวณหัวมุมถนนจำนวน 4 หลัง (มีทั้งแบบชั้นเดียวและสองชั้น) และ 4) เรือนแถวไม้ที่มีลักษณะเฉพาะจำนวน 1 หลัง (เป็น
ลักษณะผสมระหว่างเรือนแถวไม้ชั้นเดียว และสองชั้นรวมอยู่เป็นหลังเดียวกันเชื่อมต่อกันได้) นอกจากนี้องค์ประกอบของเรือนแถว
ไม้ อาทิ ประตูหน้าถัง ฝาไหล หน้าต่างบานเฟี้ยม ค้ำยัน ฯลฯ ก็ยังคงแสดงถึงเอกลักษณ์และวิธีการก่อสร้างด้วยไม้แต่ดั้งเดิมโดยใช้
การเข้าไม้แทนการใช้ตะปู อันแสดงถึงคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมไทยในชุมชนท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์ได้เป็นอย่างดี

The purpose of this study was to compile an inventory of wooden row houses located in an area of
Nakhon Sawan Province and to present these houses as important examples demonstrating the use of wood
in Thai architecture. The row houses were selected based on their Thai traditional architecture and styles,
which were considered to be valuable in preserving these vernacular characteristics and base on advisement
of local people and the community leader. A case study was undertaken in the Talad Bhad Tanwa
Community located in Tumbon Tha Tako, Amphur Tha Tako, Nakhon Sawan Province. The objective was to
present these houses as important examples to illustrate the use of wood in Thai architecture. A survey was
undertaken to compile data about 9 row houses. The data was compiled from interviews and discussions
with the community leader, who accompanied the researcher during the study and from in-depth interviews
with the owners or occupiers and other local people. Many of the people residents in the area were of
Chinese descent. Their forebears mainly arrived in Thailand during the period of King Chulalongkorn, more
than a century ago. They settled on the Tha Tako Canal and built what is now termed wooden row houses.

For the purpose of this study, these row houses were divided into 4 groups: 1.) three Single storey row
houses, 2.) one double storey houses, 3.) four corner house, and 4.) one semi-detached row houses
comprising both a single storey and a double storey house. All of these houses had wooden details, such as
windows, doors, stairways and other architectural features of value to an understanding of Thai vernacular
architecture.

Article Details

Section
บทความวิจัย