การสร้างสรรค์งานประติมากรรม “ความอุดมสมบูรณ์แห่งผืนดินไทย” Creative Sculpture “The Richness of Thailand”

Main Article Content

สุธิดา มาอ่อน
นิรัช สุดสังข์

Abstract

การสร้างสรรค์งานประติมากรรม “ความอุดมสมบูรณ์แห่งผืนดินไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค้นคว้าและ
รวบรวมบริบทภาพสะท้อนความอุดมสมบูรณ์แห่งผืนดินไทย 2) สร้างสรรค์งานประติมากรรม “ความอุดมสมบูรณ์แห่งผืนดิน
ไทย” และ 3) ประเมินผลการรับรู้และความพึงพอใจของผู้ชมต่อผลงานการสร้างสรรค์ประติมากรรม “ความอุดมสมบูรณ์แห่งผืน
ดินไทย” ที่ผู้วิจัยต้องการแสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินไทย ที่แตกต่างไปจากแผ่นดินอื่นที่
เคยได้อยู่อาศัย และรู้สึกถึงความโชคดีที่ได้เกิดและเติบโตอยู่บนผืนแผ่นดินไทย ผ่านผลงานประติมากรรมสร้างสรรค์ ให้ผู้ชม
ได้รับรู้อย่างตระหนักในคุณค่าความอุดมสมบูรณ์แห่งผืนดินไทย ด้วยการใช้รูปทรง “เมล็ดข้าว” ที่ถูกคลี่คลายตัดทอนรูปทรง
เป็นสัญลักษณ์ในการถ่ายทอดแนวความคิดสู่กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อรับการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะที่เป็น
ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์จำนวน 5 ท่าน และการประเมินผลการรับรู้และความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างผู้ชมจำนวน 100
คน ที่มีความแตกต่างด้านเพศ อายุ และการศึกษา เพื่อทำการวิเคราะห์สรุปผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะ และการ
รับรู้ ความพึงพอใจของผู้ชม จากผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้รู้บริบทภาพสะท้อนความอุดมสมบูรณ์แห่งผืนดินไทย ซึ่งปรากฏในวิถี
ชีวิตของเกษตรกรไทยในรูปผลผลิตทางเกษตรกรรม และเชื่อมโยงไปสู่ผลผลิตทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นตามมา คือ ประเพณีสิบสอง
เดือนอันมีจุดมุ่งหมายเพื่อการอยู่ดีมีสุขของสมาชิกในสังคม อันนำไปสู่ส่วนเนื้อหาของผลงาน “Rice Rich and Ritual# 2 3 4
และ 5 ที่สื่อความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์แห่งผืนดินไทย ด้วยการสร้างรูปทรงและการจัดวางตามองค์ประกอบพื้นฐานทาง
ทัศนศิลป์ การประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะบ่งชี้ว่าแนวคิดและเนื้อหาในการสร้างสรรค์มีความชัดเจนดีมาก ใช้
องค์ประกอบทางทัศนธาตุในการสร้างรูปทรงที่มีพัฒนาการอย่างเป็นขั้นตอน มีทักษะในการสร้างผลงานในเกณฑ์ดีที่ส่งผลต่อ
สุนทรียภาพของผลงงาน ควรพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานต่อไป จากการประเมินผลการรับรู้และความพึงพอใจของผู้ชมกลุ่มตัวอย่าง
พบว่าผลงานสามารถสื่อความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ของผู้สร้างสรรค์ไปสู่ผู้ชมได้ในระดับมากถึงมากที่สุด ทั้งในด้านการรับรู้
เรื่องแนวคิดในการสร้างสรรค์เนื้อหาและรูปทรง ความพึงพอใจในทักษะฝีมือ การใช้องค์ประกอบพื้นฐานทางทัศนศิลป์ในการ
สร้างสรรค์ผลงาน สุนทรียภาพ และการนำเสนอ ทั้งนี้ การรับรู้และความพึงพอใจต่อผลงานของผู้ชมต่างเพศ ต่างอายุ และต่าง
การศึกษาในภาพรวมไม่ต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าการรับรู้ของกลุ่มผู้ชมที่มีอายุ 56 ปีขึ้นไป แตกต่างจากกลุ่มผู้ชม
อายุน้อยกว่า 56 ปี ในด้านการรับรู้เรื่องแนวคิดในการสร้างรูปทรง และความพึงพอใจด้านสุนทรียภาพเรื่องความลงตัวของ
องค์ประกอบทางทัศนศิลป์ และดุลยภาพที่สอดคล้องกับแนวคิดและเนื้อหาของผลงาน โดยกลุ่มตัวอย่างผู้ชมสามารถเข้าใจถึง
เนื้อหาและแนวคิดที่ผู้วิจัยต้องการแสดงออก ทำให้เกิดการรับรู้อย่างตระหนักในคุณค่าความอุดมสมบูรณ์แห่งผืนดินไทย จากการ
วิจัยดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยได้รู้ถึงบริบทภาพสะท้อนความอุดมสมบูรณ์แห่งผืนดินไทย ได้ผลงานประติมากรรมสร้างสรรค์ “ความ
อุดมสมบูรณ์แห่งผืนดินไทย” จำนวน 4 ผลงาน ที่ปรากฏผลการประเมินของผู้ชมต่อผลงานว่า ความแตกต่างทางด้านเพศ อายุ
และการศึกษา ไม่ทำให้ผลการรับรู้และความพึงพอใจแตกต่างกัน

The objectives of Creative Sculpture “The Richness of Thailand” are to study and inspect
thoroughly the effectiveness of abundance Thailand, produce sculptures in the concept of “the richness of
Thailand”, and determine both perceptions and gratifications of viewers toward the sculptures which I want
to express my emotion about the wealthy of Thailand; the different feature of geographic location
between Thailand and the other country, which I had lived make me feel fortunate in born and raised in
Thailand. This inspiration pushes me to create the sculpture and presents it to a public in order to make
awareness of the fertility of Thailand. The idea is represented through a reduced form of rice grain by using
a created procedure which is included criticisms from five art professionals. After the production, it is taken
to exhibit and evaluate by a sample group of one hundred viewers who have different gender, various age,
and unlike-educational attainment. The result of this creativity has been aware of the effectiveness of the
fertility of Thailand. It is revealed in Thai farmer way of life and agricultural product, which is risen up a
cultural productivity called Sibsong Daun – twelve months tradition as well. The key purpose of the ritual is
for well-being, stability, prosperity and abundance of society members. This knowledge brings about to
create a content of three sculptures and one installation named Rice Rich and Ritual# 2, 3, 4, and 5;
represented the richness of Thailand by creating form and arranging visual composition before evaluating by
art experts. In addition, the sculptures have been critiqued and evaluated by five Thai national artists in
visual art. They totally satisfy with the clearly conceptual creation, form creation using visual elements and
having well developed, fine skill, and aesthetic which are related with the concept and content and suggest
creating more works. After an exhibition, the sculptures have been rated by a sample group spectator. The
outcome of viewers’ valuation about perception and satisfaction toward the sculpture reveals at the very
satisfy and extremely satisfy level in the concept awareness of creative content and form, the gratification
of fine skill, developing basic elements for creation, the aesthetic beauty, and presentation. Moreover, the
overall review shows that different gender, age, and education attainment are statistically unrelated to the
perception and gratification. However, an aspectual consideration has been found that viewer aged 56 years
and more had been different perceived about the conceptual form design and satisfied about the aesthetic
harmony of visual art elements and beauty of balancing form consistent with the creation and content of
the work from the audiences under the age of 56 years old. By the way, they realize in content and
concept which is expressed through the sculptures and recognize in the richness of Thailand. In conclusion,
the researcher has learned and realized about the effectiveness of the fertility of Thailand, completed four
creative sculptures “The Richness of Thailand”, achieved the valuation and proved that the unlike-gender,
various age, and diverse educational attainment viewer do not affect the perceptions and satisfaction result.

Article Details

Section
บทความวิจัย