การศึกษาและออกแบบชุดอุปกรณ์สร้างลวดลายบนพื้นผิวประเภทไม้ ด้วยเทคนิคพิมพ์ความร้อน กรณีศึกษา : การประยุกต์ใช้ลวดลายพื้นถิ่นภาคอีสาน STUDY AND DESIGN EQUIPMENT FOR CREATE PATTERN ON THE SURFACE OF THE WOOD BY USING THERMAL PRINTING TECHNIQUE.

Main Article Content

อนันตพร โรจนกร
พิชัย สดภิบาล
อุดมศักดิ์ สาริบุตร

Abstract

การศึกษาและออกแบบชุดอุปกรณ์สร้างลวดลายบนพื้นผิวประเภทไม้ ด้วยเทคนิคพิมพ์ความร้อน กรณีศึกษา : การ
ประยุกต์ใช้ลวดลายพื้นถิ่นภาคอีสาน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ 1)เพื่อศึกษาข้อมูลและประยุกต์ใช้ลวดลายพื้นถิ่น
ภาคอีสาน ในการออกแบบชุดอุปกรณ์สร้างลวดลายบนพื้นผิวประเภทไม้ ด้วยเทคนิคพิมพ์ความร้อน กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้
ลวดลายพื้นถิ่นภาคอีสาน 2)เพื่อออกแบบและพัฒนาชุดอุปกรณ์สร้างลวดลายบนพื้นผิวประเภทไม้ ด้วยเทคนิคพิมพ์ความร้อน 3)
เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มผู้ผลิตเครื่องเรือนไม้ ที่มีต่อชุดอุปกรณ์สร้างลวดลายบนพื้นผิวประเภทไม้ ด้วย
เทคนิคพิมพ์ความร้อน จากการวิเคราะห์ลวดลายพื้นถิ่นภาคอีสาน ได้กำหนดลวดลายพื้นถิ่นภาคอีสานมีทั้งหมด 87 ลวดลาย
จากการศึกษาสำรวจลวดลายพื้นถิ่นภาคอีสาน ได้กำหนดลวดลายพื้นถิ่นภาคอีสานทั้งหมดเหลือ 17 ลวดลาย จากนั้นจึงใช้กรอบ
แนวคิดแนวทางการศึกษาศิลปหัตกรรมพื้นบ้านความงาม มาเป็นแนวคิดวิเคราะห์เพื่อเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้าน
ลวดลายเฉพาะถิ่น จำนวน 5 ท่าน ประเมินและให้ข้อเสนอแนะโดยการใช้รูปภาพและการใช้รูปภาพจำลอง นำเสนอให้เหลือ
จำนวน 5 ลวดลาย นำมาพัฒนาปรับปรุงสร้างชุดอุปกรณ์สร้างลวดลาย ที่ได้จากการสรุปลวดลายพื้นถิ่นภาคอีสาน แล้วนำมา
สร้างแบบร่าง และผ่านกระบวนการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสม จำนวน 5 รูปแบบและสร้างต้นแบบจำลองจริง 5 รูปแบบ เพื่อ
นำมาทำการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านการออกแบบ จำนวน 5 ท่าน จากนั้นทำการประเมินความพึง
พอใจต่อชุดอุปกรณ์สร้างลวดลายบนพื้นผิวประเภทไม้ ด้วยเทคนิคพิมพ์ความร้อน จากกลุ่มผู้ผลิตเครื่องเรือนไม้ 5 กลุ่ม จำนวน
15 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบชุดอุปกรณ์สร้างลวดลายบนพื้นผิวประเภทไม้ จากการประเมิน
ขั้นสุดท้ายตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความคิดเห็นของชุดอุปกรณ์สร้างลวดลายบนพื้นผิวประเภทไม้ ที่ออกแบบและ
ลวดลายพิมพ์ความร้อน ในภาพรวมอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก x = 4.42

The study and design equipment for create pattern on the surface of the wood by using Thermal
printing technique. Case study: Application of vernacular Isan patterns. The purposes of this research are: 1)
To study and application of vernacular Isan patterns to create equipment for making patterns on the wood
surface by using Thermal printing technique. 2) To design and develop equipment for making pattern on the
wood surface. 3) To evaluate the satisfaction of experts and group of wooden furniture manufacturers about
equipment for making the pattern on the wood surface by using thermal printing technique. 

From the analysis of vernacular Isan pattern, the researcher uses frameworks of local arts and crafts
for analyze the concept by using picture and lined design to present to 5 experts and patterned endemic
experts for assess and ask for recommendation to get 5 patterns with an average maximum. The 5 patterns
with an average maximum were applied and developed for create patterns equipment through the process
of developing a suitable format for 5 formats. The 5 formats were evaluated from 5 design professionals
and satisfaction evaluation to patterns on the surface of the wood by using thermal printing technique from
15 manufacturers of wooden furniture, 5 groups who selected by purposive sampling The results showed
that from the assessment of the experts’ opinion on equipment for create pattern on the surface of the
wood by using thermal printing technique are satisfied in high level x = 4.42

Article Details

Section
บทความวิจัย