การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรีจากผ้าทอโบราณบ้านผาทั่ง จังหวัดอุทัยธานี Development and Design of Ladies’ Bags with Traditional Textile Patterns form Ban Pa Tang, Uthai Thani Province

Main Article Content

ชมจันทร์ ดาวเดือน

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลวดลายผ้าทอโบราณ ของศูนย์ผ้าทอลายโบราณบ้านผาทั่ง จังหวัด
อุทัยธานี นำมาใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรี 2) เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรี ให้มี
รูปแบบทันสมัย โดยใช้ลวดลายผ้าทอโบราณบ้านผาทั่งเป็นองค์ประกอบในการออกแบบ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ที่
สนใจผลิตภัณฑ์ ที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์และลวดลายผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรี จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักออกแบบ
ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ รวมจำนวน 209 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม
สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (  ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรี จากผ้าทอโบราณบ้านผาทั่ง จังหวัดอุทัยธานีทั้ง 5
ประเภท ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การศึกษาลวดลายผ้าทอโบราณ ของศูนย์ผ้าทอลายโบราณบ้านผาทั่ง จังหวัด
อุทัยธานี จากการสำรวจและสัมภาษณ์จากผู้ประกอบการและผู้จัดจำหน่าย พบว่า ลายผ้าทอโบราณที่นิยมนำมาผลิตจำหน่าย
ตามท้องตลาด สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ลายสัตว์ หรือ "นักษัตร 12 ชนิด" และลวดลายของผ้าทอลายโบราณอิงกับ
วิถีชีวิตของคนลาวครั่ง ได้แก่ ลายพญานาคลอยน้ำ ลายพญานาคล้อมเพชร ลายช่อฟ้า (ห่อฟ้า) ฯลฯ เป็นต้น ส่วนที่ 2 การ
วิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรี ทั้ง 5 ประเภท ที่ใช้วัสดุแตกต่างกัน คือ กระเป๋าโน้ตบุ๊ค (วัสดุที่ใช้ผลิตจากการ
ทอลายผ้า) พบว่า รูปแบบที่ 1 มีความเหมาะสมมากที่สุด ร้อยละ 66.70 กระเป๋าเก็บเอกสาร (วัสดุที่ใช้ผลิตจากการ
พิมพ์ลวดลายลงบนหนัง) พบว่า รูปแบบที่ 2 มีความเหมาะสมมากที่สุด ร้อยละ 66.70 กระเป๋าถือสตรี (วัสดุที่ใช้ผลิตจาก
การทอลายผ้า) พบว่า รูปแบบที่ 3 มีความเหมาะสมมากที่สุด ร้อยละ 66.70 กระเป๋าเครื่องสำอาง (วัสดุที่ใช้ผลิตจากการ
ทอลวดลายโบราณ) พบว่า รูปแบบที่ 1 มีความเหมาะสมมากที่สุด ร้อยละ 44.40 และกระเป๋าเดินทาง (วัสดุที่ใช้ผลิต
จากการทอลวดลายโบราณ) พบว่า รูปแบบที่ 1 มีความเหมาะสมมากที่สุด ร้อยละ 55.60 และส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ความ
พึงพอใจของผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ที่มีต่อรูปแบบและลวดลายผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรี ได้แก่ ด้านโครงสร้างผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรี
พบว่า กลุ่มผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์มีความพึงพอใจต่อรูปแบบกระเป๋าเดินทาง ( x =4.23) ด้านวัสดุที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรี
พบว่า กลุ่มผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์มีความพึงพอใจต่อรูปแบบกระเป๋าเก็บเอกสาร ( x =4.11) ด้านความสวยงาม (Aesthetic)
พบว่า กลุ่มผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์มีความพึงพอใจต่อรูปแบบกระเป๋าเครื่องสำอาง ( x =4.05) ด้านการใช้สี (Color) พบว่า กลุ่ม
ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์มีความพึงพอใจต่อรูปแบบกระเป๋าเก็บเอกสาร ( x =4.12) ด้านประโยชน์ใช้สอย (funchion) พบว่า
กลุ่มผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์มีความพึงพอใจต่อรูปแบบกระเป๋าถือสตรี ( x =4.10) ด้านการดูแลและบำรุงรักษา (Care and
maintenance) พบว่า กลุ่มผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์มีความพึงพอใจต่อรูปแบบกระเป๋าถือสตรี ( x =4.04) และด้านลวดลาย
(Pattern) พบว่า กลุ่มผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์มีความพึงพอใจต่อรูปแบบกระเป๋าเก็บเอกสาร ( x =4.10)

This research aims to: 1) study traditional textile patterns of the Ban Pa Tang traditional
textile pattern center, Uthai Thani province and use the acquired data to design ladies’ bags; 2) develop
and design ladies’ bags using Ban Pa Tang traditional textile patterns; 3) evaluate satisfaction of people who
are interested in products and patterns of ladies’ bags. The sample group included 209 designers,
entrepreneur and people who were interested in the products. Tools used in the research included
interviews and questionnaires. Statistics used in the research were percentage, means (  ) and standard
deviation (SD).
Research findings were as follows; Development and design of five types of ladies’ bags from Ban
Pa Tang, Uthai Thani province comprised of three parts. Part I: studies of traditional textile patterns of the
Ban Pa Tang traditional textile pattern center, Uthai Thani province. According to the surveys and
interviews with entrepreneurs and distributors, textile patterns that were popular were divided into two
types: animals’ patterns or " Naksat: 12 types" and patterns of traditional textile patterns based on lifestyle
of Laotians such as a pattern of floating nagas, a pattern of nagas surrounding diamonds, a pattern of cho fa
(ho fa), etc. Part II: analysis of designs of ladies’ bags using different materials, i.e. notebook bags
(materials being textiles). It was found that the first pattern was the most appropriate,
66.70% suitcases (materials being printings on the leather). It was found that the second
pattern was the most appropriate 66.70%, ladies’ bags (materials being patterned textiles). It
was found that the third pattern was the most appropriate, 66.70%, cosmetic bags (materials
being ancient-patterned textiles). It was found that the first pattern was the most
appropriate, 44.40%, document bags (materials being ancient-patterned textiles). It was found
that the first pattern was the most appropriate, 55.60%. Part III: analysis of satisfaction of people
who were interested in ladies’ bags and patterns on ladies’ bags including structure of ladies’ bags. It was
found that people were interested in patterns of suitcases ( x =4.23) in terms of materials used to
make ladies’ bags. It was found that people were interested in patterns of document bags ( x =4.11)in
terms of Aesthetic. It was found that people were satisfied with patterns of cosmetic bags ( x =4.05) in
terms of color use. It was found that people were satisfied with patterns of document bags ( x =4.12)
in terms of funchion. It was found that people were satisfied with patterns of ladies’ bags ( x =4.10) in
terms of care and maintenance. It was found that people were satisfied with patterns of ladies bags
( x =4.04) and patterns. It was found that people were satisfied with patterns of document bags
( x =4.10).

Article Details

Section
บทความวิจัย