การพัฒนาแอนิเมชัน 2 มิติ หนังประโมทัยในจังหวัดมหาสารคาม A Creation to 2D Animation for Nang Pramothai Shadow Puppet in Mahasarakham Province
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะรูปหนังประโมทัย เรื่องสังข์ศิลป์ชัย 2) ออกแบบตัวการ์ตูนและ
ฉากให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัย 3) พัฒนาแอนิเมชัน 2 มิติ หนังประโมทัย เรื่องสังข์ศิลป์ชัย 4) ศึกษาความคิดเห็นของผู้ชม
แอนิเมชัน 2 มิติหนังประโมทัยเรื่องสังข์ศิลป์ชัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แอนิเมชัน 2 มิติ หนังประ
โมทัย เรื่องสังข์ศิลป์ชัย ตอนพระยากุสราชเนรเทศสังข์ ศิลป์ชัยและสิงหราช 3) แบบประเมินคุณภาพแอนิเมชัน 2 มิติ 4) แบบสอบถาม
ความคิดเห็นของผู้ชมแอนิเมชัน 2 มิติที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่คณะหนังประโมทัยในจังหวัดมหาสารคามที่มีความ
เก่าแก่และยังทำการแสดงอยู่ในปัจจุบัน คือ คณะ ส.สำลี ประโมทัยลาว และนิสิตระดับปริญญาตรีวิชาเอกดนตรีพื้นบ้านชั้นปีที่ 3
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่เรียนในรายวิชา 2001 3011 ปฏิบัติรวมวงดนตรีพื้นบ้าน 6 จำนวน 19 คน
จากการสัมภาษณ์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์หัวหน้าคณะ ส.สำลี ประโมทัยลาว และวิเคราะห์ลักษณะรูปหนังประ
โมทัยเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและการให้สีตัวการ์ตูนตามบุคลิกลักษณะนิสัย การออกแบบฉากและส่วนประกอบฉาก ตาม
สภาพแวดล้อมในเนื้อเรื่องโดยให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัย สำหรับการพัฒนาแอนิเมชัน 2 มิติ ใช้กระบวนการพัฒนาแอนิเมชัน 2 มิติ
ประกอบด้วย ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการผลิต ขั้นตอนการผลิต ขั้นตอนหลังการผลิต และขั้นตอนการเผยแพร่
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. หนังประโมทัยเรื่องสังข์ศิลป์ชัย ประกอบด้วยรูปหนังจำนวน 36 ตัว ประกอบด้วย ตัวพระ ตัวนาง ยักษ์ ตัวตลก สัตว์ ที่
พักอาศัย พาหนะและต้นไม้
2. การออกแบบแอนิเมชัน เรื่องสังข์ศิลป์ชัย ตอนพระยากุสราชเนรเทศสังข์ ศิลป์ชัยและสิงหราช ประกอบด้วย ตัวการ์ตูน
จำนวน 12 ตัว และฉากจำนวน 5 ฉาก
3. ผลการประเมินแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องสังข์ศิลป์ชัย ของผู้เชี่ยวชาญโดยรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดี
4. ผู้ชมมีความคิดเห็นหลังชมแอนิเมชัน 2 มิติ หนังประโมทัย เรื่องสังข์ศิลป์ชัย โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
สรุปได้ว่า ผู้ชมมีทัศนคติที่ดีต่อแอนิเมชัน 2 มิติ หนังประโมทัย เรื่องสังข์ศิลป์ชัย เนื่องจากความเห็นของผู้ชมนั้นทำให้ทราบถึงความ
ต้องการต่างๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยผู้ชมให้ความสนใจและเห็นว่าการปรับปรุงวิธีการนำเสนอในรูปแบบของแอนิเมชัน 2 มิติ เป็น
ประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสาน หากแต่ควรมีการปรับปรุงบทกลอน บทเจรจา ให้เข้ากับสภาพ
วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนในปัจจุบัน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่สนใจมีความต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน
ไทยอีสานมากยิ่งขึ้น
This study aimed at; 1) exploring and analyzing the characters of Nang Pramothai shadow puppet; 2)
designing the cartoon characters and settings that are harmonized with the current places and times; 3) creating
and developing the 2D animation cartoon of Nang Pramothai “Sangsilapachai”; and 4) examining the audience’s
opinion on the 2D animation cartoon “Sangsilapachai”. The research tools for this study were: 1) an interview
form; 2) the 2D animation cartoon of Nang Pramothai “Sangsilapachai: Phraya Kussarat expels Sangsilapachai and
Singharat”; 3) an evaluation form on the 2D animation’s quality; and 4) a questionnaire form on the audience’s
attitude toward the 2D animation cartoon. Meanwhile, the sample group consisted of the members of a
traditional Nang Pramothai group in Maha Sarakham province named “Sor Samli Pramothai-lao”, whose old
styled shadow puppet show is still being performed today, and 19 3rd year students majoring in Folk Music at
College of Music, Mahasarakham University, who currently attended a course “2001 307 Folk Music Ensemble 6”.
In this regard, an interview with the head of Sor Samli Pramothai-lao group, and an analysis on the puppet
characters were purposively conducted to explore the guidance for the favorable designs and colors for the
cartoon characters based on the characteristics of each Pramothai puppet, as well as the design of settings and
props harmonized with story and the current situations for the 2D animation cartoon. In term of the 2D animation
cartoon development, it followed 3 steps including Pre-Production, Production, Post-Production, and Distribution.
The result suggested that:
1. There were 36 characters in Nang Pramothai puppet including heroes, heroines, giants, jokers,
animals, dwellings, vehicles, and plants.
2. In an episode “Phraya Kussarat expels Sangsilapachai and Sinharat”, the story was featured with
12 characters and 5 settings.
3. Based on the evaluation, the experts identically agreed that the 2D animation cartoon of
“Sangsilapachai” is the good-quality animation.
4. The audience’s opinion after watching the 2D animation cartoon of “Sangsilapachai” was totally
rated with high score.
In conclusion, the audience gained positive attitude toward the 2D animation cartoon of
“Sangsilapachai”, which gave the researcher a better understanding of their actual needs. That is, the audience
showed more attention and agreed on that presenting the local performances as the 2D animation cartoon is
very beneficial to a research on Isan local arts and performance. They also suggested that the dialogues and
poems should be adapted and harmonized with the life and culture of people in the modern community.
This can be an effective approach to encourage other researchers to conduct more studies on Isan art and
performance.