แนวทางการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพพื้นที่ส่วนกลางของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรเพื่อ ตอบสนองการใช้งานของคนผู้พิการที่เป็นไปตามหลักการ Universal Design

Main Article Content

ธีรวุฒิ บุญยศักดิ์เสรี
จรัญญา พหลเทพ

Abstract

โรงพยาบาลเป็นอาคารสาธารณะที่จำเป็นต่อการให้บริการแก่คนทุกคน จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงหลักการใช้
Universal design เพื่อมาตอบสนองพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนพิการ การวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษา
ใน 2 ประเด็นหลัก คือ หนึ่ง ประเด็นลักษณะทางกายภาพของพื้นที่เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของรูปแบบ ขนาด ที่ตั้ง ระยะ
และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ตอบสนองการใช้งานที่เหมาะสมสำหรับคนพิการ สอง ประเด็นด้านพฤติกรรมการใช้งาน
เชิงพื้นที่ในส่วน Public Zones ของโรงพยาบาล สำหรับคนพิการฯ โดยมุ่งเน้นศึกษากิจกรรม พฤติกรรมและปัญหาที่
เกิดขึ้นจริงในส่วน Public Zones ของโรงพยาบาล การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์โดยใช้วิธีประเมินลักษณะทาง
กายภาพหลังการเข้าใช้พื้นที่ (Post Occupancy Evaluation,POE) ซึ่งใช้วิธีการประเมิน 2 แบบ คือ แบบสำรวจ และ
วิธีการทดลอง โดยแบบการสำรวจมุ่งศึกษาประเด็นปัญหาและอุปสรรค ของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งผลต่อการใช้
พื้นที่ทำกิจกรรมสำหรับคนพิการ จากการสำรวจของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเชิงพื้นที่ๆมีความรู้และความชำนาญ
ในการออกแบบเพื่อมวลชน และการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการสุขภาพ ส่วนในการทดลองจะเป็นการทดลองจาก
กลุ่มคนพิการประเภทต่างๆ เพื่อศึกษากิจกรรมและพฤติกรรมการเข้าใช้พื้นที่จริงในส่วนของ Public Zones ของ
โรงพยาบาล สุดท้ายงานวิจัยนี้จะได้ แนวทางการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพในส่วน Public Zones ของโรงพยาบาล
เพื่อตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้บริการ ที่เป็นไปตาม หลักการ Universal Design

 

The hospital is a public building that is the primary right to provide services to everyone. So far, It
is necessary to take into consideration the principle of Universal design in responding to behavior of
users, particularly, person with disability. This research study focuses on 2 main issues, (1) The physical
feature of the public areas for measurement and collection regarding to the style, size and location of
facilities whether that meet the requirement and/or appropriate for people with disabilities. (2) Behavior
of users with disabilities in accessing to spaces and service facilities in the hospital public zones by focused
on the involvement between activities, behaviors and problems occurred. This research is using
empirical study method to assess and evaluate the physical features by the process of Post Occupancy
Evaluation, (POE), which uses 2 evaluation methods, survey/observation (Cognitive walkthrough) and
scenario access audit methods. In details, the survey/observation focuses on the obstacles of a physical
environment that affect space, service activities regarding people with different types of disabilities. The 

process of obstruction determination is operated by the group of design specialists in public function
and health care facility. On the other hand, the scenario access audit process is operated by participation
of the group for persons with disabilities for observation and measurement of the level of accessibility
in the real patient flow with actual sites and spaces in the Public Zones. Therefore, this research
will speculate all the problems and conclude with the design guidelines to improve the physical features
of the public zones in responding to the usability of the service facilities toward the Universal Design
approach.

Article Details

Section
บทความวิจัย