แนวทางในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงของบ้านที่มีเสายาวมากเนื่องจากการดีดบ้าน, A Guideline for Solving Stability of Lifted Houses with very Long Columns
Main Article Content
Abstract
หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในภาคกลางของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2554 บ้านเรือนทั่วไปที่มีลักษณะเป็นชั้นเดียวใต้ถุนสูง
จำนวนมากในภาคกลางได้ถูกยกระดับตัวบ้านขึ้นเพื่อหนีน้ำท่วม ส่งผลให้เกิดบ้านที่มี “ เสายาว ” ขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบ้าน
ที่อยู่ริมแม่น้ำสายต่าง ๆ การที่เสามีความสูงเพิ่มขึ้นนั้นส่งผลให้กำลังรับน้ำหนักของเสาลดลงเนื่องจากเกิดอัตราส่วนความชะลูดที่มาก
ขึ้น รวมทั้งตัวบ้านมีการโยกไปมาได้มากขึ้น ช่างรับเหมาดีดบ้านแต่ละรายซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นช่างชาวบ้านที่ไม่ได้ผ่านการเรียนวิชาช่าง
หรือวิศวกรรมในระบบการศึกษาอย่างเป็นทางการ ต่างก็มีแนวทางแก้ปัญหาเป็นของตนเอง ซึ่งมีทั้งที่ได้ผลหรืออาจไม่ได้ผลดีจริง
ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างคำแนะนำที่ถูกต้องสำหรับแก้ปัญหาดังกล่าว โดยอาศัยหลักการขั้นพื้นฐานทางวิศวกรรม
มาวิเคราะห์และเลือกแนวทางแก้ปัญหาที่สมเหตุสมผลของช่างรับเหมาที่พบตามบ้านที่ถูกดีดขึ้นจนสูงมากจำนวนหนึ่งใน 3 ชุมชนริม
ฝั่งแม่น้ำยมใน อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ผลการศึกษาพบว่ามีหลายวิธีการที่สมเหตุสมผลน่าจะสามารถช่วยลดปัญหาดังกล่าว
ได้จริง ได้แก่ การเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำเสาจากไม้เป็นคอนกรีต การขยายหน้าตัดเสา การถมและบดอัดดินใต้ถุนบ้านให้แน่น การขยาย
ฐานรากเสา การใช้คานคอดิน และการใช้ระบบโครงยึดทแยง
After the great 2011 flood in central Thailand, many typical single-story houses have been re-elevated
to much higher elevations. As a result, they became “long-column houses”, especially, those settle along
riversides. The longer columns are generally known for their lower load carrier capacity as well as easier
swaying. Each house-lifting contractor, mostly without official technical or engineering education, had their own
solutions for this problem. Some of those seems to work well while some are unlikely. This research, therefore,
aims to build a guideline for solving this problem by employing engineering fundamental to analyze and select
reasonable approaches done by some contractors found in 3 communities along Yom River in Amphur Bang
rakam, Pitsanuloke Province. The study reveals that there are some reasonable and capable approaches such as
filling and compacting soil over existing layer around column footing, enlarging column bases by using round
concrete septic rings, constructing ground tie beams, and constructing diagonal bracing systems.