การศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต้นแบบและบรรจุภัณฑ์สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรม พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ปัทมา กระแสเสวตร
จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง
อุดมศักดิ์ สาริบุตร

Abstract

การศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต้นแบบและบรรจุภัณฑ์สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรม พระราชวัง
สนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลสถาปัตยกรรมพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
2) ออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรมพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
3) ประเมินความพึงพอใจผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรมพระราชวังสนาม
จันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยมีลำดับขั้นตอนการศึกษา ตามวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปลายเปิดสอบถาม
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติ งานในพระราชวังสนามจันทร์ และเก็บข้อมูลความต้องการของนักท่องเที่ยว มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 50 ท่าน
โดยใช้วิธีการ สุ่มอย่างง่าย(Simple ramdom sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ
(Check list) แบบมาตรประมาณค่า(Rating Scale) 2) สอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 ท่าน กลุ่ม
ที่ 1 เจ้าหน้าปฏิบัติงานภายในพระราชวังสนามจันทร์จำนวน 3 ท่าน กลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และด้าน
สถาปัตยกรรมจำนวน 3 ท่าน กลุ่มที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์จำนวน 3 ท่าน ใช้วิธีการสุ่มเฉพาะเจาะจง
(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 3) สอบถามความพึงพอใจของกลุ่ม
นักท่องเที่ยวจำนวน 100 ท่าน โดยใช้วิธีการสุ่มเฉพาะเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม
แบบมาตรประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจ
ในสถาปัตยกรรมในพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คือ พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์และนำมาร่วมออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์
ของที่ระลึก จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ละ 1 แบบ โดยผลจากการสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์และด้านสถาปัตยกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานภายในพระราชวังสนามจันทร์ ปรากฏว่า
ประเภทกล่องดนตรีมีความเหมาะสมมากสุดด้วยค่าเฉลี่ย( X= 4.21) ประเภทกล่องใส่ของมีค่าเฉลี่ย( X= 3.70) ประเภทนาฬิกามี
ค่าเฉลี่ย ( X= 3.58) ประเภทโมเดล จำลองมีค่าเฉลี่ย ( X= 3.48) ประเภทจานโชว์มีค่าเฉลี่ย ( X= 2.89) ประเภทกล่องดนตรีมี
ค่าเฉลี่ยสูงสุด ผู้วิจัยจึงนำมาผลิตเป็นต้นแบบจำลอง เพื่อประเมินความพึงพอใจกลุ่มเป้าหมาย ผลที่ได้คือผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและ 

บรรจุภัณฑ์สำหรับสถานที่ท่องเที่ยงเชิงสถาปัตยกรรมพระราชวังสนามจันทร์จังหวัดนครปฐม ประเภทกล่องดนตรีและบรรจุภัณฑ์
ได้รับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากด้วยค่าเฉลี่ย ( X= 4.11)

 

The objectives of the study and design of prototype model and packaging for architectural tourist
attraction at Sanamchan palace Nakornpratom province are to 1) study and collect architectural data of
Sanamchan palace Nakornpratom province 2) design souvenir product and packaging for architectural tourist
attraction at Sanamchan palace Nakornpratom province 3) evaluate satisfactory of people who are interested in
souvenir product and packaging for architectural tourist attraction at Sanamchan palace Nakornpratom province.
The steps of the study by the objectives are 1) data collection by open end questionnaire of officers who work
in Sanamchan palace and data collection of tourists. There are 50 samples by simple random sampling. The
research tools are check list and rating scale 2) questionnaire for opinions and recommendations of 9 experts.
The first group is 3 officers who work in Sanamchan palace. The second group is 3 experts in product design and
architecture. The third group is 3 experts in packaging design. The sampling method is purposive sampling. The
research tools are rating scale questionnaire, data analysis, frequency, percentage and mean. The finding of the
research is that tourist architectural satisfactory of Sanamchan palace Nakornprotom province is Pra Tam Nak
Chali Mongkol Art, which is designed to be 5 souvenir products, one piece for each product. The result of
questionnaire for opinions of experts in product design and architecture, experts in product packaging and
officers who work in Sanamchan palace shows that the music box has the highest mean ( X= 4.21). The
collecting box has mean ( X= 3.70). The clock has mean ( X= 3.58). The model has mean ( X= 3.48). The
display disc has mean ( X= 3.70). The music box has the highest mean. Therefore, the researcher produces a
prototype of the music box to evaluate the satisfactory of target group. The result is that the music box
souvenir product and packaging for architectural tourist attraction at Sanamchan palace Nakornpratom has the
high satisfactory level with mean ( X= 4.11).

Article Details

Section
บทความวิจัย