ภูมิปัญญาล้านนาในการพัฒนาหัตถกรรมของแต่งบ้านจากเศษใบไม้แห้ง, Lanna Wisdom Knowledge for Home Decorative Craft Product Development from Dry Leaves
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์งานหัตถกรรมภูมิปัญญาล้านนาผสมผสานกับการนำใบไม้แห้งของ
ชาวล้านนามาทำการออกแบบของตกแต่งบ้าน 2.) เพื่อออกแบบและพัฒนาวัสดุเพื่อการออกแบบของตกแต่งบ้านโดยคง
ภาพลักษณ์ของชาวล้านนา 3.) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ทั้งที่อยู่ในท้องถิ่นและผู้ที่มาเยือนในจังหวัด
เชียงใหม่ การศึกษาเรื่องภูมิปัญญาล้านนาในการพัฒนาหัตถกรรมของแต่งบ้านจากเศษใบไม้แห้ง มีวิธีในการดำเนินงานวิจัยคือ
ในขั้นตอนแรกมีวิธีศึกษาจาก เอกสาร เว็บไซด์ เอกสารตำรางานวิจัยที่เกี่ยวกับ งานหัตถกรรมภูมิปัญญาล้านนาเพื่อสร้าง
แนวความคิดและกำหนดกรอบการศึกษาข้อมูล จากนั้นลงพื้นที่เพื่อศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างโดย
การคัดเลือกแบบบังเอิญ (Accidental sampling) จำนวน 300 คนโดยแบ่งเป็น คนท้องถิ่นจำนวน 150 คน ต่างถิ่นจำนวน 150
คน และสัมภาษณ์ปราชญ์พื้นบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาเพื่อกำหนดแนวความคิดในการออกแบบ จากนั้นศึกษาด้านวัสดุ
โดยการ ศึกษาจาก เอกสาร เว็บไซด์ เอกสารตำรางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นลงพื้นที่เพื่อคัดเลือกวัสดุที่เหมาะสมจนได้วัสดุเพื่อ
นำไปใช้ในการออกแบบ ทำการสังเคราะห์กำหนดสไตล์การออกแบบ 4 แนวทาง โดยได้นำเทรนการออกแบบปี 2013-2014 (
TCDC ) มาเป็นแนวทางในการกำหนดสไตล์ จากนั้นให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่านเป็นผู้กำหนดแนวทางในการออกแบบเพียง 1
แนวทาง นำแบบที่ได้มาพัฒนาและสร้างต้นแบบ ทดสอบความพึงพอใจจากคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่
จำนวน 100 คน สรุปและประเมินผล อภิปราย และนำเสนอผลงาน จากผลการประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟ ในงานวิจัย
เรื่อง ภูมิปัญญาล้านนาในการพัฒนาหัตถกรรมของแต่งบ้านจากเศษใบไม้แห้ง และผลการประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ ผู้วิจัย
พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 6 ท่าน และกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 100 ท่าน ล้วนมี
ความเห็นในภาพรวมว่า รูปแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟ ในงานวิจัยเรื่อง ภูมิปัญญาล้านนาในการพัฒนาหัตถกรรมของแต่งบ้านจากเศษ
ใบไม้แห้ง นั้นมีรูปแบบที่แสดงถึงความเป็นล้านนา มีรูปแบบเฉพาะ จดจำง่าย โดดเด่นจากภูมิภาคอื่นๆ และผลิตภัณฑ์นั้นยัง
สามารถนำไปใช้ในการตกแต่งบ้านได้ ตอบสนองด้านการใช้งานได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีคุณค่าทางสุนทรียะ เห็นแล้วเกิดความ
ชื่นชมยินดี และพึงพอใจ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย ความงาม ความเหมาะสมภายใต้
ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟให้คำนึงถึง ภูมิปัญญาล้านนาบวกกับการนำใบตองตึงของชาว
ล้านนาและนำมาประยุกต์ให้เหมาะสม และเข้าสมัย เพื่อสามารถเป็นโคมไฟที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และสามารถมองแล้วสื่อถึง
เอกลักษณ์ของล้านนาได้ ทำให้ทราบผลตอบของผู้บริโภคมีความพึงพอใจมาก อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้
ผลิตภัณฑ์ และเป็นตัวอย่างสำหรับนักออกแบบในจังหวัดเชียงใหม่
The objectives of the study: 1. To study Lanna handicraft by using of Lanna to design the home
decorative product. 2. To design and develop the home decorative product by maintaining the Lanna
concept. 3. To study the targeted customer satisfaction both native and the visitors of Chiang Mai province .
In order to study the Lanna Wisdom Knowledge for Home Decorative Product Development from Dry
Leaves, the first step is to study from the documents, websites, the research related to the Lanna handicraft
so as to create the concept and scope the study information. Then study from the primary data by
collecting the questionnaire from the 300 prototypes which are classified to natives, outsiders, and the local
philosopher to analyze the information to scope the design concept. The next step is to study about the
material from the documents, websites, and other related articles and taste the material to find out the
proper material for the design process. The designs are categorized into 4 models by having the trend of
2013-2014 (TCDC) to indicate the targeted models. There are 6 experts to set the only one model to
develop and create the prototype, to taste the customer satisfaction of 100 people from both natives and
visitors in Chaing Mai Then conclude, debate, and present the product and its details.The result of the study
found that the design of the product leads to another design database of appliance and home decorations
which will be beneficial to the product development of Chiang Mai people. Moreover, the product
represents the image of Chiang Mai people including the added value of the product to be the model for
the designer in Chiang Mai province. The data analysis from the customer satisfaction survey of the lamp
shows the x-bar at 3.64