ศึกษาลวดลายกราฟิกบนผ้าไหมมัดหมี่อำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่นเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์, A STUDY OF GRAPHICS DESIGN PATTERN MUDMEE SILK, CHONNABOT DISTRICT, KHONKAEN PROVINCE FOR PRODUCT DESIGN

Main Article Content

ปิยะนุช ไสยกิจ
เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
นพคุณ นิศามณี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลวดลายกราฟิกบนผ้าไหมมัดหมี่ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษา
เกี่ยวกับลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ ประวัติ โครงสร้างของลวดลายผ้า ไหมมัดหมี่ การสร้างลวดลาย แนวความคิดในการออกแบบ ซึ่งผู้วิจัย
ได้กำหนดขอบเขตของการวิจัย และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ได้กำหนดไว้ ประกอบด้วย (1) ศึกษาและออกแบบลวดลาย
กราฟิกบนผ้าไหมมัดหมี่ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ อำเภอ
ชนบท จังหวัดขอนแก่น กลุ่มประชากรที่เป็นผู้ให้ข้อมูลด้านการออกแบบลวดลายกราฟิกผ้าไหมมัดหมี่ ประกอบด้วยกลุ่มชาวบ้านทอ
ผ้า อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ โดยใช้คำถามแบบปลายเปิด (20)
พัฒนาการออกแบบลวดลายกราฟิกบนผ้าไหมมัดหมี่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบลวดลาย
กราฟิก จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลด้านรูปแบบและลวดลาย ค่าสีที่ใช้ในการออกแบบ
รูปร่าง รูปทรง ตำแหน่งและสัดส่วน (3) นำลวดลายกราฟิกบนผ้าไหมมัดหมี่มาใช้เป็นต้นแบบในการออกแบบผลิตภัณฑ์ (หนังสือ
รวบรวมลวดลายและไฟล์ดิจิทัล) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบลวดลาย และการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามประเมินความเหมาะสมในการออกแบบร่างหนังสือรวบรวมลวดลายและ
ไฟล์ดิจิทัล สำหรับผู้เชี่ยวชาญ (4) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ (หนังสือรวบรวมลวดลายและไฟล์ดิจิทัล) ประชากรที่ใช้ใน
การศึกษา ผู้วิจัยใช้กลุ่มประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยกำหนดให้เป็นกลุ่มนักออกแบบกราฟิก และกลุ่มนักออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน
30 คน นักออกแบบทั้งหมดอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้หนังสือรวบรวม
ลวดลายและไฟล์ดิจิทัล (5) หาความต้องการของแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศาลาไหมไทย ผู้วิจัยกำหนดประชากรในการศึกษาคือ
ผู้เยี่ยมชมศาลาไหมไทย (ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2556) จำนวน 300 คน และใช้สูตรแทนค่าได้กลุ่มตัวอย่าง 171 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามหาความต้องการของแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศาลาไหมไทย (6) นำลวดลายกราฟิกบนผ้า
ไหมมัดหมี่มาใช้เป็นต้นแบบ ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบศาลาไหมไทย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้าน
การออกแบบลวดลายกราฟิก จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามประเมินความเหมาะสมในการออกแบบร่างผลิตภัณฑ์
ต้นแบบศาลาไหมไทย สำหรับผู้เชี่ยวชาญ (7) ประเมินความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ต้นแบบศาลาไหมไทย ผู้วิจัยกำหนดประชากรใน
การศึกษาคือ ผู้เยี่ยมชมศาลาไหมไทย (ในช่วงเดือนธันวาคม 2556 – มกราคม 2557) จำนวน 300 คน ใช้สูตรแทนค่าได้กลุ่มตัวอย่าง
171 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบศาลาไหมไทย
ผลการศึกษา พบว่า (1) ผลการศึกษาลวดลายกราฟิกบนผ้าไหมมัดหมี่ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น สามารถสรุปผลได้ว่า
ลวดลายที่พบแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มลาย ลายหมี่พื้นฐาน ลายทั่วไปที่พบเห็น และลายสร้างสรรค์ (2) ผลการพัฒนาการ 

ออกแบบลวดลายกราฟิกบนผ้าไหมมัดหมี่ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น โดยผู้วิจัยให้ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ประเมินความเหมาะสม
ในการออกแบบลวดลายกราฟิก (3) ผลการออกแบบลวดลายกราฟิกบนผ้าไหมมัดหมี่ นำมาใช้เป็นต้นแบบในการออกแบบผลิตภัณฑ์
(หนังสือรวบรวมลวดลายและไฟล์ดิจิทัล) ได้แนวทางการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน พบว่า รูปแบบที่เหมาะสมคือแบบที่ 3
ประกอบด้วยชื่อหนังสือ “สะออนหลาย ลายแก่นขอน” โทนสี Art Nouveau ขนาดหนังสือ คือ ขนาด A4 ขนาดมาตรฐาน (4) ผลการ
ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ (หนังสือรวบรวมลวดลายและไฟล์ดิจิทัล) (5) ผลการศึกษาความต้องการของแหล่งจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์ศาลาไหมไทย พบว่า ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่กลุ่มผู้บริโภคต้องการให้จัดจำหน่าย คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องแต่งกาย (๖)
ผลการนำลวดลายกราฟิกบนผ้าไหมมัดหมี่มาใช้เป็นต้นแบบ ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบศาลาไหมไทย พบว่า รูปแบบที่
เหมาะสมคือแบบที่ 1 มีความแปลกใหม่ แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของลวดลายกราฟิกที่ชัดเจน เหมาะสมกับวัยของผู้สวมใส่ (7) ผล
การประเมินความพึงพอใจในการซื้อผลิตภัณฑ์ต้นแบบศาลาไหมไทย

 

This research aims to study graphic patterns of mudmee silk in Chonnabot District, Khon Kaen
Province. It is a study about mudmee silk patterns, history, structures of mudmee silk patterns, creation of
patterns, and concepts of design. The researcher had defined the scope and the purposes of the research as
follows: (1) To study and design graphic patterns of mudmee silk in Chonnabot District, Khon Kaen Province.
The populations and the samples used in this study were patterns of mudmee silk in Chonnabot District, Khon
Kaen Province. The populations who were informants about the design of graphic patterns of mudmee silk
consisted of a group of woven fabric villagers in Chonnabot District, Khon Kaen Province totally 30 people. The
research tools were open-ended interview questions in a topic of mudmee silk patterns, structures of patterns,
and concepts of design. (2) To develop graphic pattern design for mudmee silk, populations, and samples. The
researcher used three experts in graphic design. The tools used in the study were questionnaires which
contained information about forms and patterns, color tones used in the design, appearances, shapes,
positions, and proportion. (3) To bring graphic patterns of mudmee silk to be used as a model in the product
design (a collection book of patterns and digital files), populations and samples. The researcher used three
experts in pattern design and product design. The tool used in the study were questionnaires using for
assessing suitability of a collection book of patterns and digital files for specialists. (4) To evaluate the
satisfaction of product users (a collection book of patterns and digital files). For the populations used in the
study, the researcher used the population as the samples by defining them as a group of graphic designers and
product designers totally 30 people, namely, designers in private agencies totally 10 people, designers in
governmental agencies totally 10 people, and freelance designer totally 10 people. All the designers were
living in the areas of KhonKaen Province. The tools used in the study were questionnaires using for evaluating
satisfactions on using a collection book of patterns and digital files. (5) To find out the demand of distribution
channels of Sala Mai Thai’s products. The researcher used the populations in the study who were visitors of
Sala Mai Thai (during October - November 2013) totally 300 people and used the formula for substitution and
obtained the samples totally 171 people. The tools used in the study were questionnaires using for finding out
the demand of distribution channels of Sala Mai Thai’s products. (6) To bring the graphic patterns of mudmee
silk to be used as a model to design product prototypes of Sala Mai Thai, populations and samples. The
researcher used three experts in graphic design. The tools used in this study were questionnaires using for
assessing suitability in the design of product prototypes of Sala Mai Thai for specialists (7) To evaluate 

satisfaction on the product prototypes of Sala Mai Thai. The researchers determined the populations in the
study who were visitors of Sala Mai Thai (during December 2013 - January 2014) totally 300 people, the
formula for substitution and obtained the samples totally 71 people. The tools used in the study were
questionnaires using for evaluating satisfaction on the use of product prototypes of Sala Mai Thai. The study
results can be found that: (1) The study results of graphic patterns of mudmee silk in Chonnabot District, Khon
Kaen Province, can be concluded that the found pattern were divided into 3 groups, that is, standard dyed
patterns, general patterns, and creative patterns. (2) The development results of graphic patterns of mudmee
silk in Chonnabot District, Khon Kaen Province, which the researcher used three experts to evaluate suitability
of graphic pattern design (3) The results of the graphic pattern design for mudmee silk had been used as a
model in the product design (A collection book of patterns and digital files). The designing methods from three
experts could be found that the suitable model was the third model that consisted of the book named "Sa-On
Lhai, Lai Kaen Khon”, ‘Art Nouveau’ color tone, A4 normal size book. The book consisted of graphic patterns,
real fabric patterns, names of patterns, color tones of patterns, and history. (4) The results of satisfaction of
product users (a collection book of patterns and digital files). (5) The results of the need of distribution
channels of Sala Mai Thai’s products could be found that the product prototypes that the consumer groups
needed for distribution were a group of apparel products (6) The results of bringing graphic patterns of
mudmee silk to be used as a model for designing product prototypes of Sala Mai Thai could be found that the
suitable model was the first model which had originality with obvious uniqueness of graphic patterns and was
suitable to wearers. (7) The evaluation results of satisfaction on product prototypes of Sala Mai Thai.

Article Details

Section
บทความวิจัย