การออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมที่แสดงอัตลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์, The Environmental Graphic Design for Kalasin Province’s Identity Presentation

Main Article Content

สืบศิริ แซ่ลี้

Abstract

วิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบป้ายสัญลักษณ์ให้เหมาะสม เข้ากับสถานที่ท่องเที่ยวและใน
จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อแก่ไขปรับปรุง รูปแบบป้ายสัญลักษณ์เดิมและสร้างอัตลักษณ์ให้กับสถานที่ท่องเที่ยวและในจังหวัด
กาฬสินธุ์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อป้ายสัญลักษณ์ที่แสดงอัตลักษณ์ให้กับสถานที่ท่ องเที่ยวและในจังหวัด
กาฬสินธุ์ แนวทางการศึกษาหารูปแบบของการออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมที่แสดงอัตลักษณ์จังหวัดกาฬสินธุ์ ระบบป้าย
สัญลักษณ์สถานที่ท่องเที่ยวเชิงศิลปะและวัฒนธรรม มีวิธีวิจัยโดยการศึกษาค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลภาคเอกสาร และงานวิจัยที่
เกี่ยวข้องข้อมูลภาคสนามโดยการใช้แบบสอบถามนักท่องเที่ยว และทำการออกแบบสรุปผล ตลอดจนได้มีการประเมินผลงาน
ออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาผลงานให้มีความสมบูรณ์ ผลงานวิจัย
สามารถสรุปออกมาเป็นผลงานออกแบบได้ดังนี้ ชุดระบบป้ายสัญลักษณ์สถานที่ท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม 1) ป้ายประดับ
ตกแต่งและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ 2) ป้ายบอกชื่อซอย 3) ป้ายบอกทิศทาง 4) ป้ายแผนที่ 5) ป้ายบอกรายละเอียด 6) ป้ายบอกชื่อถนน
7) ป้ายบอกตำแหน่งสถานที่ โดยทั้งหมดมีความสวยงาม สอดคล้องกลมกลืนและสื่อความหมายเป็นที่ง่ายแก่ผู้ใช้งานหากสามารถ
นำงานออกแบบเลขนศิลป์เพื่อแสดงอัตลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ มาพัฒนาและเป็นต้นแบบเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบ
และอาจพัฒนาต่อไปเป็นคู่มือการใช้งานอัตลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้บุคลากรขององค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัด
หรือกลุ่มเจ้าของธุรกิจประเภทต่างๆ สามารถเข้าใจได้โดยง่าย และสามารถสื่อสารในเรื่องการออกแบบได้ตรงกัน ไม่ซับซ้อนโดย
คำนึงถึงการใช้งานเป็นหลัก ซึ่งคาดว่าจะส่งผลถึง การสร้างภาพลักษณ์ที่ดี สร้างความน่าเชื่อถือให้กับจังหวัดและยังสามารถ
พัฒนาไปสู่เศรษฐกิจในด้านต่างๆ ของจังหวัดได้

 

This study aimed at 1) exploring the guidance of designing the graphic design that suitably promotes
the tourist attractions in Kalasin province; 2) modifying the old sign formats and create the identity for the
tourist attractions in target area; 3) evaluating the tourist’s satisfaction toward the signs presenting the
identities of the tourist attractions and the province. In exploring the graphic design that effectively presents
the identity of Kalasin province and the sign system to promote the cultural and art tourist attractions, the
researcher studied and collected the data from the related documents and research papers from the
fieldworks. The data was taken from the questionnaires completed by the tourists and summarized to
create the graphic design format. This format was firmly verified by the experts and the academics in the
concerned areas and it was finally developed and resulted as the complete format.The finding can be
concluded that a set of the sign system presenting the art and cultural tourist attractions should consist of: 

1) decorative sign and printed media; 2) street sign; 3) direction sign; 4) mapping sign; 5) information sign; 6)
signs with street’s name; and 7) location-pointing sign. These signs should be designed with attractive details
which is well-blended with the surroundings and clearly understandable for the tourists. Hopefully, the
graphic design presenting Kalasin province’s identity can be developed more and used as the model for
designing the tourist attraction signs. This also can be applied to create the guidebook for promoting the
identity of Kalasin province which is broadly understandable and meaningful for the personnel in the
provincial organizations or business owners. This graphic design is effectively communicating and easy for
use that can promote the positive image and trust in the province was well as implemented to encourage
the provincial economy system in different contexts.

Article Details

Section
บทความวิจัย