การออกแบบสติ๊กเกอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงอัตลักษณ์ของภาคอีสานตอนเหนือ กรณีศึกษาสัญลักษณ์ประจำจังหวัด

Main Article Content

สืบศิริ แซ่ลี้

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์อัตลักษณ์ของภาคอีสานตอนเหนือ ประจำหวัดกาฬสินธุ์
จังหวัดขอนแก่น จังหวัดหนองคายและจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อออกแบบสติ๊กเกอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ประจำ
จังหวัดและสามารถนำไปใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธุ์จังหวัดได้ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสติ๊กเกอร์
อิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ประจำจังหวัด ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การสุ่มแบบบังเอิญของกลุ่มนักท่องเที่ยวตามสถานที่
ท่องเที่ยวประจำจังหวัด จำนวน 80 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการนำเสนอผลงานแบบกลุ่มย่อยการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่า
ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจาการวิจัยตามกระบวนการคิดสร้างสรรค์และวิธีดำเนินการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ทำ
ให้ได้ชุดผลงานต้นแบบสติ๊กเกอร์อิเล็กทรอนิกส์ประจำหวัด จำนวน 4 แบบ ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น
จังหวัดหนองคายและจังหวัดอุดรธานี รวมทั้งสิ้น 28 แบบ โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ได้ร่วมประเมินคุณภาพผลงานต้นแบบสติ๊กเกอร์
อิเล็กทรอนิกส์ประจำหวัด เห็นว่าภาพรวมด้านการออกแบบรูปร่างรูปทรง ด้านการออกแบบกราฟิกด้านความคิดสร้างสรรค์และ
ด้านอัตลักษณ์ประจำหวัดของภาคอีสานตอนเหนือ เป็นผลงานออกแบบที่มีคุณภาพและเป็นไปตามตามวัตถุประสงค์ อยู่ในเกณฑ์
ระดับมากที่สุด ผู้วิจัยได้สรุปรวบรวมไฟล์ต้นแบบดิจิตัลที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องขององค์ประกอบทางกราฟิกแสดงถึงอัตลักษณ์ บันทึก
ลงแผ่นดีวีดี มอบให้แก่ผู้ที่สนใจเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

 

This study was conducted to 1) investigate and analyze the Northern Isan identity of Kalasin, Khon
Kaen, Nong Khai, and Udonthani; 2) design an electronic sticker that represents promote the symbols of
those four provinces and to be practically used for promoting the provinces; 3) examine the tourist’s
satisfaction toward the electronic sticker. 80 participants were accidentally sampled from tourists at the
famous tourist attractions in each of the four provinces. The data had been collected from the presentation
of four different sicker sets before it was analyzed to find the percentage, mean, and standard deviation.
The study utilized the creative thinking process and participatory research methodology and it was resulted
as 4 sets of provincial electronic sticker including Kalasin, Khon Kaen, Nong Khai, and Udonthani. These sets
totally consisted of 28 styles of the sticker. The experts agreed that the electronic sticker was a good
quality medium that directly answered the objective of this study. That is, the highest score was rated to
affirm the quality of the appearance and shapes, graphic design, creativity, and effectiveness in presenting 

the northern Isan identity. Finally, the researcher purposively stored the digital files of the graphic elements
into a DVD for the other people who share the same interest in this field of study.

Article Details

Section
บทความวิจัย