การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอประเภทของที่ระลึก ของชุมชนบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ใจภักดิ์ บุรพเจตนา

Abstract

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนางานผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ประเภทของที่ระลึกของบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย
ให้มีรูปแบบที่ทันสมัย โดยนำลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอตีนจกบ้านหาดเสี้ยว ที่เป็นผลจากการวิจัยที่ได้ทำแล้ว มาต่อยอด
ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และนำผลการพัฒนามาถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้สนใจ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสินค้าเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ต่อไป การวิจัยใช้เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคที่สนใจผลิตภัณฑ์
สิ่งทอ ผู้เข้าอบรมการถ่ายทอดความรู้ และผู้ชมการเผยแพร่งานวิจัยรวม 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์ และ
แบบสอบถาม ในส่วนขั้นตอนการออกแบบประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสิ่งทอ สรุปผลการวิจัยที่ใช้ในพัฒนาผลิตภัณฑ์
คือ (1) การออกแบบลายประยุกต์จากโครงสร้างลายแบบดั้งเดิม โดยลดรายละเอียดของลายและใช้กลุ่มสีใหม่ ให้มีความกลมกลืน (2)
วัสดุคือกลุ่มผ้าฝ้ายผิวสัมผัสเป็นธรรมชาติ และกลุ่มผ้าไหมซาตินสังเคราะห์ที่สะดวกในการใช้งาน (3) กรรมวิธีการผลิตลวดลาย ใช้
การพิมพ์ลายร่วมกับการปักตกแต่ง ผลงานต้นแบบประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกประเภทเครื่องใช้ และเครื่องประดับตกแต่ง
รวม 5 รูปแบบ ได้แก่ หมอนอิงรูปทรงสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม กระเป๋ารูปทรงสามเหลี่ยมและห้าเหลี่ยม และกล่องผ้าเอนกประสงค์
ผลการเผยแพร่การวิจัย ด้านความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับค่าเฉลี่ย 4.79 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48

 

This research is a supplementary study from the previous research which has purpose to develop local
souvenirs from uniqueness of Jok woven textiles of Ban Hadseao district in Sukhothai province to modern
patterns, and then propagate the outcomes from the research to public for further development
and promotion of creative economic. The research was carried out by qualitative and quantitative methods.
The group of samples in the research were from specialists in woven textiles, entrepreneurs, consumers who
interests in woven textile products, and attendants at the exhibitions of the developed products totaling 226
persons. The research was carried out by means of interviewing and questionnaires. Each process of making
sample products was evaluated by specialists in woven textile products. Methods of creating patterns in the
sample products consists of (1) creation contemporary pattern based on outline of original patterns by
simplifying their details and applying with harmonious tones of colours; (2) employing natural fabric such as 

cottons and easy-care synthetic satin fabric as the sample products; (3) developing printing technology to
geometric patterns. The sample of souvenir textile products consists of 5 household and decorating items;
i.e.,triangle and square cushions, triangle and hexagon bags,multi-purpose boxes. Scores of satisfaction which
obtained propagation the sample products were 4.79 max. for average, and 0.48 max. for standard deviation.

Article Details

Section
บทความวิจัย