การศึกษาภูมิปัญญาเครื่องทองเพชรบุรี เพื่อพัฒนาชุดเครื่องประดับ

Main Article Content

วรัญชลีย์ ทวีชัย
พิชัย สดภิบาล
ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการทำเครื่องทองเพชรบุรี กระบวนการสร้างสรรค์ทองรูปพรรณ
วิธีการทำรูปแบบและลวดลาย รวมทั้งศึกษาการถ่ายทอดความรู้เชิงช่าง โดยเลือกศึกษาจากพื้นที่ ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง
จังหวัดเพชรบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาเครื่องประดับและประเมินความพึง
พอใจจาก ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ผลิต และผู้บริโภค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และ
แบบสอบถาม เพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูล จากการศึกษาพบว่า การทำเครื่องประดับทองเพชรบุรีนั้นจะเป็นการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น
และมักจะเป็นการถ่ายทอดเฉพาะภายในครอบครัว มากกว่าที่จะถ่ายทอดไปสู่คนภายนอก รูปร่างรูปทรงลวดลาย วัสดุและ
กรรมวิธีการผลิตของเครื่องประดับเพชรบุรี ส่วนมากเป็นลวดลายจากธรรมชาติธรรมชาติเช่น ลูกสน ดอกพิกุล ไข่ปลา สิ่งรอบตัว
ในชีวิตประจำวัน หรือขึ้นอยู่กับการสั่งทำของลูกค้า วัสดุ มีทั้งทอง เงิน นาค และอัญมณี โดยใช้กรรมวิธีการรีดทองเป็นเส้นแล้ว
ดัดลวดลายต่างๆ ต้องทำทีละส่วนประกอบด้วยมือผลิตได้เพียงครั้งละชิ้น สื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ผลการประเมิน
การออกแบบชุดเครื่องประดับเพชรบุรี ผู้วิจัยได้รวบรวมสรุปข้อมูลนำมาสร้างแบบ จำนวน 10 รูปแบบ และใช้ทฤษฎีวิศวกรรม
ย้อนรอยในการตัดทอนรูปแบบชุดเครื่องประดับให้เหลือจำนวน 5 รูปแบบ นำไปเขียนโปรแกรม 3 มิติด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้
รูปแบบเครื่องประดับมีคามสมจริงมากที่สุด จากนั้นนำรูปแบบที่ได้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการผลิตและการ
ออกแบบเครื่องประดับประเมินผล จากการประเมินรูปแบบชุดเครื่องประดับเพชรบุรี โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและการ
ผลิตเครื่องประดับ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ชุดเครื่องประดับเพชรบุรี รูปแบบที่ 1 มีความเหมาะสมมาก
ที่สุด (X=4.54, S.D.=0.12) รองลงมาคือ รูปแบบที่ 5 (X=3.63, S.D.=0.09) รองลงมาคือ รูปแบบที่ 2 (X=3.59, S.D.=0.16)
รองลงมาคือ รูปแบบที่ 4 (X=3.50, S.D.=0.08) และรูปแบบที่ 3 (X=3.36,S.D.=0.15) ตามลำดับ

 

This research aimed to study the wisdom of making Petchaburi gold ornaments, the process of
pendants inventives, the method to making their styles and patterns, including to study the communication
of the technical knowledges by choosing to study from the area of Taraab sub-district , Muang district in
Petchaburi province and collecting the data from groups of the concerned experts to develop the
ornaments and assess the complacencies of the experts ,the producers and the customers. Data collection
instruments for research included formal interviews, evaluation forms and questionnaires. The findings
revealed that making Petchaburi gold ornaments is relayed from each generation to anothers and usually
relays within their families more than to the person outsides. The most of shapes, patterns, materials and
the processess of making Petchaburi gold ornaments are made from nature such as cones,flowers , spawn 

and everything around their daily lives or it depends on the customers’ orders. The materials have both
gold,silver , naga and gems. By pressing gold into string and bend it to be different patterns that has to make
each part by hand, one part once telling the identitiy of the local. The results of assessment of Petchaburi
design , the researcher has collected and concluded the data to create them to 10 designs and used
Reverse Engineering theory to retrench them to be only 5 designs. Designed them in 3 dimension program
by using computer in order to make the ornaments be the most reality. After that all designs are assessed
by the experts of ornament’s productions and designs.The results of the assessment, according to all
experts’ opinions, the first Petchaburi design is the most appropriate (X=4.54, S.D.=0.12), the second is the
fifth design (X=3.63, S.D.=0.09) ,the third is the second design (X=3.59, S.D.=0.16) , the fourth is the fourth
design (X=3.50, S.D.=0.08) and the last is the third design (X=3.36,S.D.=0.15) .

Article Details

Section
บทความวิจัย