การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามแนวคิดคอนสตรักติวิสต์เรื่อง หลักการออกแบบ ผ่านบทเรียนคอมพิวเตอร์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี Study of the achievement Based on Constructivist Concept of design principle via Computer Instruction of Undergraduate Students

Main Article Content

จิรพงศ์ ยืนยง
นิรัช สุดสังข์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ตามแนวคิดคอนสตรักติวิสต์เรื่อง หลักการออกแบบ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนผ่านบทเรียนคอมพิวเตอร์ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์เรื่อง หลักการออกแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาวิจิตรศิลป์และ ประยุกต์ศิลป์ ชั้นปีที่ 1 – 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนการสอนเรื่อง หลักการออกแบบ 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์เรื่อง หลักการออกแบบ 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน 4) ใบงานวัดผลการเรียนรู้ 5) แบบประเมินผลงาน 6) แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ตามแนวคิดคอนสตรักติวิสต์เรื่อง หลักการออกแบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ       T- test Dependent ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ อีกทั้งผลการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์เรื่อง หลักการออกแบบ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีอยู่ในระดับดีมาก ทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ตามแนวคิดคอนสตรักติวิสต์เรื่อง หลักการออกแบบ มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ดังนั้นบทเรียนคอมพิวเตอร์ตามแนวคิด คอนสตรักติวิสต์เรื่อง หลักการออกแบบ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี อาจเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญในสาขาวิชาศิลปกรรมและอาจารย์ที่ต้องการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

The purposes of this study was 1) to conduct a computer based instruction of principle design that followed the concept of constructivism for undergraduate students 2) to compare between pre-post students’ achievement that gained from a computer based instruction of principle design that followed the concept of constructivism of undergraduate students 3) to examine the undergraduate students’ satisfaction toward a computer based instruction of principle design. The participants in this study involved about 30 undergraduate students enrolled in 1st and 2nd year of Fine and Applied Arts program, department of Humanities, Kamphaeng Phet Rajabhat University. The research instrument in this study were 1) the curriculum of principle of design 2) computer based instruction of principle design 3) pre-post examination for measuring students’ achievement 4) the assignments of Principle Design subject 5) the assessment of undergraduate students’ works 6) the assessment of undergraduate students’ satisfactions toward a computer based instruction of principle design. As for descriptive statistics, means, standard deviation, and T-test Dependent were used. The results revealed that after the students studied CAI learning, their post proficiency showed more significant higher than pre proficiency. The results from the undergraduate students’ creative works reported that their works were evaluated at a very high level. As for sequent outcome, the students’ attitudes toward CAI of Principle of Design subject were at a very high level. Therefore, based on Constructivism Strategies, this CAI of Principle of Design subject for Applied Art undergraduate students may further useful for student-center of teaching and learning management. In addition, the teachers who relevance in this field can adapt this CAI for their teaching.

Article Details

Section
บทความวิจัย