การศึกษาและพัฒนาสื่อการเรียนรู้สาระพื้นฐานเพลงโคราชสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 1 THE STUDY AND DEVELOPMENT “PLENG KORAT” , THE BASIC LEARNING MEDIA FOR PRIMARY STUDENTS, LEVEL1
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้สาระพื้นฐานเพลงโคราชสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 1 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนรู้ ด้วยสื่อการเรียนรู้สาระพื้นฐานเพลงโคราชสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 1 ภายใต้สมมติฐานของการวิจัยคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้สาระพื้นฐานเพลงโคราช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียน ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้เกี่ยวกับการแสดงเพลงโคราชจำนวน 3 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความชำนาญในด้านสื่อการเรียนรู้และด้านการออกแบบจำนวน 6 คน กลุ่มที่ 3 ครูประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้เพลงโคราชระดับประถมศึกษา (โรงเรียนกรณีศึกษา) จำนวน 3 คน กลุ่มที่ 4 นักเรียนระดับประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 1 (โรงเรียนกรณีศึกษา) จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึก วิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการทดสอบค่า t (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ผลประเมินงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ เพลงโคราช ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ 1และ2 โดยรวมทุกด้านมีความเหมาะสมในระดับมาก (=4.51, SD.=0.28) ผลประเมินประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่ 3 มีความเหมาะสมในระดับเห็นด้วย (=4.80, SD.=0.17) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เพลงโคราช ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้สาระพื้นฐานเพลงโคราช ของกลุ่มตัวอย่างที่ 4 คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังการเรียนรู้สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่าการสอนโดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภท หนังสือ เพลงโคราช สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้สูงขึ้น
The purpose of this research to study and development the efficiency of the basic pedagogic of “Pleng Korat” for primary school Students Level 1, and to compare the students achievement before and after learning media to developed basic pedagogic of “Pleng Korat” for primary school Students Level1. Under research hypothesis of the students achievement after learning media to developed basic pedagogic of “Pleng Korat” for primary school Students Level 1 was higher than pretest , The researchers conducted a study and analyze data from documents and field studied were used in this study. In field study, The samples used in this study has classified into 4 groups: Group 1 the experienced group , which has knowledge of showing Pleng Korat 3 people, Group 2 the expert group, which has knowledge in learning media and design 6 people Group 3 teachers in department of learn media Pleng Korat in Primary school as the Case Study School 3 people and Group 4 the Primary Students Level 1 as the Case Study Schools 45 people. The tools used in this research are questionnaires, interviews and records by using statistical data analysis, including frequency, percentage, average, standard deviation and t-test. Results of this research showed that, the assessment result the design printing media book "Pleng Korat" of group 1 and group 2 is very appropriate at a mean ( =4.51, SD.=0.28). Results the assessment of efficiency of learning media of group 3 had suitability of agreement (=4.80, SD.=0.17) and the pre-test learning achievement and the post-test learning achievement of group 4 had the Means from testing after learning in the higher scores than the pre-test learning achievement with significance of 0.05. As the result, it can conclude that the teaching by using the printing media book "Pleng Korat" can support the learning of the learners in the higher level.