ความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่อการบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือของเทศบาลนครนนทบุรี

Main Article Content

นุจรินทร์ ปันจูวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ทำการประมวลผลกระทบที่ประชาชนได้รับจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 และความต้องการขอความช่วยเหลือของประชาชน (2) ศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบที่ประชาชนได้รับจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการขอความช่วยเหลือของประชาชน (3) ศึกษาการบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือของเทศบาลนครนนทบุรีที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการขอความช่วยเหลือของประชาชน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเขตพื้นที่เทศบาลนครนนทบุรี ทำการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ Correlation หรือค่าสหสัมพันธ์


ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบที่ประชาชนได้รับมากที่สุด มีจำนวน 4 ด้าน จำแนกตามกลุ่ม ดังนี้ (1) ด้านเศรษฐกิจ คือ ด้านภาระค่าใช้จ่าย ด้านภาวะการดำรงชีพ (2) ด้านสังคม คือ ด้านการต้องมีระยะห่างทางสังคม  (3) ด้านสุขภาพ คือ ด้านสุขภาพจิต และความต้องการขอความช่วยเหลือของประชาชนมากที่สุด  มีจำนวน 5 ด้าน จำแนกตามกลุ่ม ดังนี้ (1) ด้านเศรษฐกิจ คือ ด้านภาระค่าใช้จ่าย ด้านภาวะการดำรงชีพ (2) ด้านสังคม คือ ด้านการต้องมีระยะห่างทางสังคม  (3) ด้านสุขภาพ คือ ด้านการเจ็บไข้ได้ป่วย ด้านสุขภาพจิต


ด้านการบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือของเทศบาลนครนนทบุรีทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ด้านการสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารการให้ความช่วยเหลือ 2) ด้านการให้ความช่วยเหลือด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ 3) ด้านการสนับสนุนด้านการให้ความช่วยเหลือตามมาตรการช่วยเหลือของรัฐ พบว่ามีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ด้านการดำเนินการและพัฒนาการจัดระบบบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือด้านการฟื้นฟูและเยียวยา พบว่ามีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


ผลการทดสอบความสัมพันธ์ผลกระทบที่ประชาชนได้รับทั้ง 8 ด้านมีความสัมพันธ์กับความต้องการขอความช่วยเหลือตามจำนวน 8 ด้านที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อได้รับผลกระทบเพียง 1 ด้าน ยังมีความสัมพันธ์กับความต้องการขอความช่วยเหลือ มากกว่าจำนวน 1 ด้าน


ผลการทดสอบความสัมพันธ์การบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือของเทศบาลนครนนทบุรีทั้ง 4 ด้าน พบว่า มี 3 ด้านที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการขอความช่วยเหลือ แต่พบว่ามีจำนวน 1 ด้านที่ไม่มีความสัมพันธ์ คือ ด้านการให้ความช่วยเหลือด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

Article Details

How to Cite
ปันจูวงศ์ น. (2021). ความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่อการบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือของเทศบาลนครนนทบุรี. เอเชียปริทัศน์, 42(1). สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/asianreview/article/view/247267
บท
บทความวิจัย (Research Articles)
Share |

References

กรมควบคุมโรค. (2563). คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประเทศไทย. สืบค้นวันที่ 4 ตุลาคม 2563,
จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/g_other05.pdf
นรีพรรณ สุวรรณกิตติ. (2541). ความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพของผู้ต้องขังก่อนพ้นโทษในเรือนจำคลองเปรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปกรณ์ ศิริประกอบ. (2560). 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ : แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปปฏิบัติจริง (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิริยะ ผลพิรุฬ. (2563,24 มีนาคม). ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์จาก “ไวรัสโควิด-19”. โพสทูเดย์ สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/618563
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2563). เมื่อโควิด-19 ปิดเมือง: ผลกระทบต่อแรงงานไทยในมิติ supply-side หลายมิติของความเสี่ยงที่ตลาดแรงงานไทยต้องเผชิญ. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563, จาก https://www.pier.or.th
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2563, 12 เมษายน). “ตระหนก เรียนรู้ เติบโต” คุณอยู่กลุ่มไหนในวิกฤติโควิด-19. บิสเนสทูเดย์ สืบค้นจาก https://www.businesstoday.co/covid-19/12/04/2020/33907/
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2563). ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). สืบค้นวันที่ 3 ตุลาคม 2563, จาก http://web.krisdika.go.th/data/slideshow/File/RegulationTH.pdf
Upwell health Collective. (2563). “4 wave” ระบบสาธารณสุขไทย กับผลกระทบระยะยาว จาก “โควิด-19”. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2563, จากhttps://www.hfocus.org/content/2020/04/19160