นโยบายพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศอินเดียและประเทศไทย

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Sirinbhattra Sathabhornwong

摘要

ในศตวรรษที่ 21 นี้ เกิดการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ในระดับโลก เพื่อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆงดการผลิตและการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เนื่องจากเป็นสาเหตุให้เกิดวิกฤติสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ แล้วหันมาใช้พลังงานทดแทนแทน รัฐบาลของทั้งประเทศอินเดียและประเทศไทยให้ความสำคัญต่อการกำหนดและลงมือปฏิบัตินโยบายด้านพลังงานทดแทน มีการตั้งหน่วยงานภาครัฐเพื่อดูแลนโยบายพลังงานทดแทนโดยตรง ได้แก่ Ministry of New and Renewable Energy ของประเทศอินเดีย และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบนโยบายพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นนโยบายหลักของนโยบายพลังงานทดแทนของประเทศอินเดียและประเทศไทย เพื่อให้ทราบความเหมือนและความแตกต่าง และเสนอแนวทางการพัฒนานโยบายพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย โดยวิธีการวิจัยเอกสาร ข้อค้นพบหลักที่ได้ คือ 1) ทั้งอินเดียและไทยมีปริมาณและความเข้มของแสงแดดสูง เหมาะแก่การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ 2) นโยบายของอินเดียระบุถึงพลังงานทดแทนอย่างเดียว ในขณะที่นโยบายของไทยแยกพลังงานทดแทนออกจากพลังงานทางเลือก 3) อินเดียมีการแตกนโยบายพลังงานแสงอาทิตย์ออกมาโดดเด่น ในขณะที่ไทยมีนโยบายพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกรวมเป็นชุด มีแผนการดำเนินงานไปพร้อมๆกัน 4) ประเทศอินเดียมีภาคธุรกิจที่เข้มแข็งในการผลิตและจำหน่ายพลังงานแสงอาทิตย์ อีกทั้งยังได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลในการเป็นตัวกลางในการรับซื้อพลังงานแสงอาทิตย์อย่างถูกกฎหมาย 5) ประเทศไทยก็มีธุรกิจที่ผลิตและจำหน่วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีการร่วมทุนของภาครัฐและภาคเอกชน โดยมุ่งเน้นผลิตเองให้ได้ เพื่อไม่ต้องนำเข้าพลังงานแสงอาทิตย์จากต่างประเทศ 6) นโยบายพลังงานแสงอาทิตย์ของทั้งอินเดียและไทยสะท้อนความเป็นโลกาเทศาภิวัตน์ เพราะเลือกให้ท้องถิ่นเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายนี้ ซึ่งเป็นนโยบายที่ได้รับแรงผลักดันมาจากการเคลื่อนไหวทางสังคมในระดับโลก


คำสำคัญ: พลังงานทดแทน, นโยบายพลังงานแสงอาทิตย์, โลกาเทศาภิวัตน์, ภาระผูกพันในการซื้อพลังงานทดแทน, นโยบายพิกัดอัตรารับเข้า

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
บทความวิจัย (Research Articles)
##submission.authorBiography##

##submission.authorWithAffiliation##

Me.jpg

Share |

参考

ภาษาไทย

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. 2563. แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก

พ.ศ. 2561 – 2580 (AEDP 2018). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพลังงาน.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. 2564. “ยุทธศาสตร์พลังงานทดแทน.” กรมพัฒนาพลังงาน

ทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 3 สิงหาคม 2564. https://www.dede.go.th/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=646&filename=.

กระทรวงพลังงาน. 2562. “กระทรวงพลังงาน หารือร่วมกับผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายแผงโซล่าเซลล์

ส่งเสริมนโยบายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์.” กระทรวงพลังงาน, 2 มีนาคม 2565. https://energy.go.th/2015/กระทรวงพลังงาน-หารือร่ว/.

กองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. 2563. “แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของ

ประเทศปี พ.ศ. 2564-2573. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 1 มีนาคม 2565. https://climate.onep.go.th/wp-content/uploads/2020/02/NDC-roadmap-infographic_F-1.pdf.

ณัฐณิชา ดอนสุวรรณ. 2564. “โครงการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทย ที่เดิมประกาศนโยบายหยุด

รับซื้อไฟฟ้าโครงการสุดท้ายไปเมื่อปี 2560 ล่าสุด 2 หน่วยงานรัฐ คือ "อีอีซี" และ "กองทัพบก" เตรียมผุดโปรเจคใหม่จ่อดึงเอกชนร่วมลงทุน.” กรุงเทพธุรกิจ, 3 สิงหาคม 2564. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/923509.

ณิชชา บูรณสิงห์. 2558. “เซลล์แสงอาทิตย์พลังงานทดแทนที่ยั่งยืน.” รัฐสภาไทย, 1 มีนาคม 2565.

https://web.parliament.go.th/view/7/nationalassembly/TH-TH.

ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก (ท้องถิ่น). 2564. “โซลาร์เซลล์ดีแต่ต้องมีแผนที่เป็นรูปธรรม.” สยามรัฐออนไลน์, 2

มีนาคม 2565. https://siamrath.co.th/n/247997.

บริษัทบีซีพีจี จำกัด (มหาชน), 2564. “รู้จัก BCPG.” บริษัทบีซีพีจี จำกัด (มหาชน), 3 สิงหาคม 2564.

https://www.bcpggroup.com/th/about-us/bcpg-overview.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2559. “แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจก

ของประเทศปี พ.ศ. 2564-2573.” กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 1 มีนาคม 2565.http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER38/DRAWER027/GENERAL/DATA0000/00000853.PDF.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2562. “แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558–2563.” กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 1 มีนาคม 2565. https://www.onep.go.th/book/แผนแม่บทรองรับการเปลี่/.

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเจนไน. 2559. “ธุรกิจพลังงานของอินเดียกับโอกาสของภาค

ธุรกิจไทย.” กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์, 1 กรกฎาคม 2564. https://www.ditp.go.th/contents_attach/152032/152032.pdf.

สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์. 2564. “พลังงาน-มหาดไทย เทงบ 2,400 ล้าน ดึงองค์กรปกครองท้องถิ่นลงทุน.”

ประชาชาติ, 3 สิงหาคม 2564. https://www.prachachat.net/economy/news-594332.

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). 2565. “NDC (Nationally Determined

Contribution).” องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), 1 มีนาคม 2565. http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/page/ndc-nationally-determined-contribution-198.

Green Network. 2562. “ก. พลังงานแนะเอกชนผู้ผลิตโซลาร์เซลล์ เร่งลงทุนในประเทศ รับตลาดโต 20 ปี

ข้างหน้า รับไฟฟ้าเข้าระบบ 1.27 หมื่นเมกะวัตต์.” 3 สิงหาคม 2564. https://www.greennetworkthailand.com/ลงทุน-โซลาร์เซลล์-รับ20ปี/.

ภาษาต่างประเทศ

Blatter, J. 2013. “Glocalization.” Encyclopedia of Britannica, August 1.

https://www.britannica.com/topic/glocalization.

Chaudhary, A., Krishna, C. and Sagar, A. 2015. “Policy Making for Renewable Energy in India:

Lessons from Wind and Solar Power Sectors.” Climate Policy, 15(1): 58-87.

Council on Energy, Environment and Water (CEEW). 2021. “What are RPOs and RECs?” CEEW,

January 18. https://cef.ceew.in/masterclass/explains/what-are-rpo-and-rec?fbclid=IwAR0buACLwWN2cYMVFj2ATHbmUm_1IP5FiK0U29tPLqmfPVe7vXq-VMfy4Jo.

Graduate Center for Public Policy and Administration. 2002. “Public Policy Making as a

Process.” California State University Long Beach, March 1. https://home.csulb.edu/~msaintg/ppa590/intro.htm.

Janardhanan, N. K. 2017. “India’s Energy Policy: Energy Needs and Climate Change.” Institute

of Peace and Conflict Studies, August 1. http://www.jstor.org/stable/resrep09398.4.

India Brand Equity Foundation (IBEF). 2021. “Renewable Energy Industry in India.” India Brand Equity Foundation (IBEF), August 1. https://www.ibef.org/industry/renewable-energy.aspx.

King Abdullah Petroleum Studies and Research Center (KAPSARC). 2016. “Renewable energy

policy in India: Creation”, implementation and efficacy. Riyadh: KAPSARC.

Lan T.T., Techato K. and Jirakiattikul S. 2019. “The Challenge of Feed-In-Tariff (FIT) Policies

Applied to the Development of Electricity from Sustainable Resources: Lessons for Vietnam.” International Energy Journal. 19: 199 – 212.

Luomi, M. 2020. “The Global Governance of Sustainable Energy: Access and Sustainable

Transitions.” International Institute for Sustainable Development (IISD), August 1. https://www.iisd.org/articles/global-governance-sustainable-energy.

Madhusudan, M. D. and Vanak, A. T. 2022. “How India’s unguided quest for solar energy is

bringing about ecological and cultural erasure.” The Hindu, January 1. https://www.thehindu.com/sci-tech/energy-and-environment/how-indias-unguided-quest-for-solar-energy-is-bringing-about-ecological-and-cultural-erasure/article38077440.ece.

Ministry of New and Renewable Energy (MNRE). 2021. “Solar”. Ministry of New and Renewable

Energy (MNRE), August 1. https://mnre.gov.in/.

Piggot, G. 2017. “Will Social Movements Focused on Fossil Supply Help Solve the Climate

Crisis?” Stockholm Environment Institute (SEI), August 1. https://www.sei.org/perspectives/social-movements-fossil-fuel/.

Rajshekhar, M. 2021. “The Fall and Rise of Solar Costs in India.” The Wire, August 3.

https://thewire.in/energy/the-fall-and-rise-of-solar-costs-in-india.

Singh, P. 2020. “India’s Top 5 Power Producers and their Renewable Energy Plans.” Saur

Energy International, August 3. https://www.saurenergy.com/solar-energy-news/indias-top-5-power-producers-and-their-renewable-energy-plans.