ศึกษาความสุขตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพยาบาล ในโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ความสุข, พยาบาลวิชาชีพ, โรงพยาบาลสามพรานบทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความสุขตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาความสุขตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพยาบาลในโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสุขตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพยาบาลในโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาพระไตรปิฎกและเอกสารที่เกี่ยวข้องและมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10 คน ประกอบการวิเคราะห์และสรุป
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสุขตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนาชี้ให้เห็นความเป็นจริงและเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตและการปฏิบัติงานของคฤหัสถ์ หรือผู้ครองเรือนมี 4 ประการ ได้แก่ อัตถิสุข (สุขจากการมีทรัพย์) โภคสุข (สุขจากการจ่ายทรัพย์) อนณสุข (สุขจากการไม่เป็นหนี้) และอนวัชชสุข (สุขจากการประพฤติสุจริตไม่มีโทษ) สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตให้เกิดมีความสุขอย่างแท้จริง ให้เกิดคุณประโยชน์สุขคุ้มค่ากับการที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ หรือเรียกว่าผู้ประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิต 2) ความสุขตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพยาบาลในโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้ข้อสรุปว่าพยาบาลเข้าใจว่าความสุขตามแนวดังกล่าวเป็นหลักธรรมคำสอนให้ตนเองและครอบครัวระมัดระวังและไม่ประมาทการใช้ชีวิต รู้จักเหตุผล รู้จักการประมาณตน มีความรัก ความเมตตากรุณา และเข้าใจว่าพยาบาลเป็นผู้มีบทบาทหน้าที่ดูแลและให้การช่วยเหลือบุคคลเจ็บป่วย ให้การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพและรวมทั้งการช่วยเหลือกระทำการรักษาโรค ด้วยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการพยาบาล พยาบาลจะต้อง ลด ละ เลิก จากกามตัณหา ส่งเสริมสร้างสรรค์การอยู่ร่วมกันในสังคม 3) วิเคราะห์ความสุขตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพยาบาลในโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม สรุปว่าการปฏิบัติตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท เรื่องสุข 4 ประการดังกล่าว เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ทำให้การดำรงชีวิตมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดความสุขและสันติ มีคุณค่าและประโยชน์ต่อจิตใจของทุกคน
References
กมลรัตน์ ศักดิ์สมบูรณ์. (2540). ทฤษฎีการพยาบาลและกระบวนการพยาบาล. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
นันทนา น้ำฝน. (2538). เอกลักษณ์ของพยาบาลวิชาชีพ. สงขลา: เทมการพิมพ์.
ปราณี รามสูตร และจำรัส ด้วงสุวรรณ. (2545). พิมพ์ครั้งที่ 3. การเสริมสร้างชีวิตให้เป็นสุข. กรุงเทพฯ: ธนะการพิมพ์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2537). พิมพ์ครั้งที่ 2. ชีวิตที่สมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก จำกัด.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2512). ความสุขในการทำงาน. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา จัดพิมพ์.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2523). ความสุขที่แท้. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2536). ความรักจากวาเลนไทน์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2534). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ: การศาสนา.
ลออ หุตางกูร. (2523). พิมพ์ครั้งที่ 3. จรรยาสำหรับพยาบาล. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.
ลออ หุตางกูร. (2538). หลักพื้นฐานเพื่อการพยาบาลชีวจิต – สังคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
วศิน อินทสระ. (2533). ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิต. กรุงเทพฯ: ปัญญา.
วรรณา ศรีโรจนกุล พญ. (2548). กฎระเบียบวิธีการปฏิบัติ – การวิสัญญีสำหรับวิสัญญีพยาบาลตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย.
สภาการพยาบาล. (2541). กฎหมายกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. นนทบุรี: เดอะเบสท์กราฟฟิคแอนด์ปริ้นท์.
อภิวัฒน์ โพธิ์สาน. (2551). พุทธศาสน์แนวปฏิบัติเพื่อชีวิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พากร วังศิราบัตร. (2554). สาส์นจากประธานอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, วารสารความสุขสร้างได้อย่างไร. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 หน้า 2.
พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม (อามาตย์มนตรี). (2556). การประยุกต์ใช้หลักปัจฉิมทิศในการส่งเสริมสถาบันครอบครัวของประชาชน แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551. บัณฑิตศาส์น มมร.ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (เมษายน – กันยายน 2556) : 1 – 2.
จิรสุภา ชูบุญ. (2553). การนำหลักพุทธจริยศาสตร์ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. สารนิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ชุติกาญจน์ เปาทุย. (2553). ศึกษาระดับความสุขในการทำงานของพยาบาล : กรณีศึกษาเฉพาะ โรงพยาบาลศิริราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐนี เลิศเรืองเจริญ (2551). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงพยาบาลมหาชัย 2 อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. สารนิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
นิกร ศิริกุล. (2550). ความสุขของมนุษย์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
เนตรสวรรค์ จินตนาวลี. (2553). ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปิยอร ลีระเติมพงษ์. (2552). ความสุขในการทำงานของพยาบาล งานแพทย์ศัลยศาสตร์และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลศิริราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระสุริยัญ ชูช่วย (2546). การแสวงหาความสุขและคุณค่าของชีวิต : กรณีศึกษาทัศนะกลุ่มคนต่างวัยในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
แม่ชีมณีรัตน์ โพธิสวัสดิ์. (2552). ศึกษาวิเคราะห์ความสุขตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
คนสมถะ. (2558, 10 พฤษภาคม). อยากรู้ไหมว่าคุณมีความสุขรึเปล่า ? : ประทีปส่องใจ. ไทยรัฐ. หน้า 10.
โรงพยาบาลสามพราน. (2557). ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลสามพราน. นครปฐม: โรงพยาบาลสามพราน.
โรงพยาบาลสามพราน. (2548). การบริหารการพยาบาล. นครปฐม: โรงพยาบาลสามพราน.