แนวทางการอธิบายเรื่องนรกและสวรรค์ในพุทธศาสนาสำหรับคนรุ่นใหม่
คำสำคัญ:
การอธิบาย, นรก, สวรรค์, คนรุ่นใหม่บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแนวทางการอธิบายเรื่องนรกและสวรรค์ในพระพุทธศาสนาสำหรับคนรุ่นใหม่ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการอธิบายนรกและสวรรค์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (2) ศึกษาการอธิบายนรกและสวรรค์ในสังคมไทย และ (3) เสนอแนวทางการอธิบายนรกและสวรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่
ผลการวิจัย พบว่า เรื่องภพภูมิพระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงลักษณะของภพภูมิต่างๆ ของนรกและสวรรค์ พระพุทธเจ้าตรัสเกี่ยวกับนรกและสวรรค์ไว้หลายรูปแบบ นรก หมายถึง ภูมิที่เชื่อกันว่า ผู้ทําบาปจะต้องไปเกิดและถูกลงโทษ เป็นดินแดนที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน นรกใหญ่ มี 8 ขุม เรียกว่า “มหานรก” สัตว์นรกมีลักษณะ คือ ผู้ที่ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา และใจ เป็นผู้ไม่รักษาศีล 5 ดังนั้น เขาจึงได้รับ ความทุกข์ในนรก ในทางตรงกันข้าม สวรรค์ หมายถึง ภพภูมิอันเป็นที่อยู่ของเทวดา ประกอบไปด้วย 6 ชั้น เป็นภพภูมิอันมีแต่ความสุข และสมบูรณ์ด้วยทิพยสมบัติ ผู้ที่ไปจุติในสวรรค์จะต้องเป็นผู้ทำความดี
การอธิบายนรกและสวรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่ ในปัจจุบันนี้เป็นสิ่งจำเป็นมาก ดังนั้น คนรุ่นใหม่ต้องเข้าใจเรื่องนรกและสวรรค์ เชื่อว่าใครทำดีก็ได้ไปสวรรค์ ใครทำความชั่วก็ต้องไปนรก ความเชื่อเรื่องนรกและสวรรค์นั้น มีสอดแทรกอยู่ในคำสอนของบิดามารดา บทละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์จะมีเรื่องของกรรมดี กรรมชั่ว แฝงเป็นปริศนาธรรมให้เรียนรู้และประพฤติปฏิบัติอยู่เนื่องๆ
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงราชวิทยาลัย.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2531). กรรมและนรกสวรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่, กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ จำกัด.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). พิมพ์ครั้งที่ 11. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (วันจันทร์). (2533). “นรกและสวรรค์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร (พรรณา). (2550). “จิตตมาตรของนิกายโยคาจาร: การศึกษาเชิงวิเคราะห์บนฐานแนวคิดเรื่องจิตในพระพุทธศาสนายุคต้น”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.