การศึกษาเชิงวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักคำสอนในมงคลสูตร
คำสำคัญ:
การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, มงคลสูตรบทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2. เพื่อศึกษาหลักคำสอนในมงคลสูตร และ 3. เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักคำสอนในมงคลสูตร เป็นการศึกษาเนื้อหาในเอกสารปฐมภูมิ และทุติยภูมิ
ผลการศึกษา พบว่า หลักคำสอนในมงคลสูตรสามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ใน 3 ระดับด้วยกัน คือ (1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับปฐมวัย กำหนดอายุอยู่ในระหว่างไม่เกิน 25 ปี เป็นวัยที่ยังต้องศึกษาหาความรู้ใส่ตัว เป็นวัยเตรียมตัวเตรียมความพร้อมที่จะต้องออกไปครองเรือนเพื่อสร้างอนาคตของตน เป็นวัยที่ยังต้องพึ่งพา พ่อ-แม่ และครูบาอาจารย์ คอยช่วยอบรมสั่งสอนชี้แนะถึงความถูกต้องดีงาม ทั้งทางโลก และทางธรรม เพื่อที่จะได้เป็นหลักประกันในการนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้สมบูรณ์ ในวัยนี้ควรศึกษาและปฏิบัติตามหลักคำสอนในมงคลสูตรข้อ 1 ถึงข้อที่ 10 (2) การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับมัชฌิมวัย กำหนดอายุอยู่ในระหว่าง 26 ถึง 50 ปี เป็นวัยที่จะต้องดำเนินชีวิตไปตามลำพัง คือ ออกไปตั้งหลักปักฐานสร้างครอบครัวไม่ต้องพึ่งบิดา-มารดา และครูบาอาจารย์เหมือนเดิม เป็นวัยที่จำต้องรับผิดชอบต่อตนเองและทำให้ครอบครัวอยู่ดีมีสุข ในวัยนี้ควรศึกษาและปฏิบัติตามหลักคำสอนในมงคลสูตรข้อที่ 20 ถึงข้อที่ 30 (3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับปัจฉิมวัย กำหนดอายุอยู่ในระหว่าง 51 ปีขึ้นไปถึงสิ้นอายุขัย เป็นวัยที่ต้องสะสมบุญทานด้วยการแสวงหาทรัพย์ คือ อริยทรัพย์ อริยสมบัติใส่ตัวให้มากเท่าที่จะมากได้เพื่อเป็นเสบียงเดินทางสู่ความสุขทั้งในภพนี้ และสัมปรายภพ ในวัยนี้ควรศึกษาและปฏิบัติตามหลัก คำสอนในมงคลสูตรข้อที่ 31 ถึงข้อที่ 38 ดังนั้น หลักคำสอนในมงคลสูตรเป็นคำสอนที่สามารถปรับเข้าได้กับทุกเพศทุกวัย เริ่มแต่ปฐมวัย มัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย
References
ปิ่น มุทุกันต์. (2535). มงคลชีวิต. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ปิ่น มุทุกันต์. (2535). มงคลชีวิต ภาค 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ปิ่น มุทุกันต์. (2535). มงคลชีวิต ภาค 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกฺขุ). (2544). มงคลชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกฺขุ). (2534). กตัญญูกตเวทีเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของโลก. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกฺขุ). (2544). มงคลชีวิต 38 ประการ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2538). พิมพ์ครั้งที่ 6. พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2544). พัฒนาตน.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). คู่มือชีวิต. พระธรรมเทศนา ปาฐกถาและคำบรรยายพิเศษ.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยจิตวิทยาแบบยั่งยืน.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). ธรรมนูญชีวิต.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). พุทธธรรมกับการพัฒนาชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
พระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน). (2506). คัมภีร์ทีปนี แปล. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเซียงจงเจริญ.
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท). ธรรมเทศนามงคล 38. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ลานอโศก เพรส กรุ๊ป.ไม่ปรากฏที่พิมพ์.
เย็นใจ เลาหวนิช. (2523). การศึกษากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
วศิน อินสระ. (2514). สาระสำคัญแห่งมงคล 38.
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์. (2515). ธรรมานุกรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์. (2538). มงคลในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กิติวรรณ.
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). (2546). มงคลยอดชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พระมหาประเสริฐ ญาณสีโล (ธรรมจง). (2547). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องแนวความคิดเชิงจริยศาสตร์ในมงคลสูตร”.
พระมหาอดิศักดิ์ ปิยสีโล (ดีล้วน). (2556). “การพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวพุทธด้วยหลักธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท”.
พระอชิรวิชญ์ โอภาโส (แสนบุญศิริ). (2553). “ศึกษาวิเคราะห์ประโยชน์ของมงคลในพุทธปรัชญาเถรวาทตามแนวมงคลสูตร”.