บูรณาการความเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม ในพุทธปรัชญาเถรวาทด้วยมหากัมมวิภังสูตร

ผู้แต่ง

  • บัวบุษรา อัครศรุติพงศ์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

บูรณาการ, กรรม, พุทธปรัชญาเถรวาท, มหากัมมวิภังสูตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง บูรณาการความเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทด้วยมหากัมมวิภังคสูตร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องกรรมและผลของกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท หลักกรรมในมหากัมมวิภังคสูตร และบูรณาการความเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทด้วยมหากัมมวิภังคสูตร เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับรูปแบบการบูรณาการความเชื่อเรื่องกรรม และผลของกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท ด้วยมหากัมมวิภังคสูตร โดยมีระเบียบวิธีวิจัย คือ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ และสัมภาษณ์เชิงลึก

ผลการวิจัยพบว่า กรรมมีหน้าที่ มีลำดับ และมีระยะเวลาในการให้ผลที่ชัดเจนแก่ผู้ที่กระทำอกุศลกรรมหรือกุศลกรรมให้ได้รับทุกข์หรือสุขอย่างแน่นอน ส่วนหลักกรรมในมหากัมมวิภังคสูตรได้จำแนกกรรมและผลของกรรมโดยแสดงถึงบุคคล 4 ประเภท คือ 1) ทำชั่วแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก 2) ทำชั่วแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ 3) ทำดีแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ 4) ทำดีแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก สำหรับความเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทที่นำมาบูรณาการด้วยมหากัมมวิภังคสูตรมีดังนี้ 1) ผู้ทำชั่วแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกก็มี เพราะได้ทำกรรมชั่วต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน 2) ผู้ทำชั่วแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ก็มี เพราะทำกุศลกรรมไว้มากในชาติก่อน ๆ กุศลกรรมนั้นยังมีแรงให้ผลอยู่ ส่วนกรรมชั่วที่เขาทำใหม่ยังไม่ทันให้ผล 3) ผู้ทำดีแล้วได้เกิดในสุคติโลกสวรรค์ก็มี เพราะทำความดีติดต่อกันตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันกุศลกรรมนั้นส่งผลจึงทำให้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ 4) ผู้ทำดีแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกก็มี เพราะทำความชั่วไว้มากในชาติก่อน ๆ อกุศลกรรมนั้นยังมีแรงให้ผลอยู่

สำหรับองค์ความรู้ใหม่จากการศึกษา พบว่า การทำงานของกรรมและผลของกรรมมีหน้าที่มีลำดับและมีระยะเวลาในการให้ผลของกรรมแก่ผู้กระทำอกุศลกรรมหรือกุศลกรรมให้ได้รับทุกข์หรือสุขอย่างแน่นอน ส่วนการนำมาบูรณาการด้วยมหากัมวิภังคสูตรเพื่อแสดงให้เห็นถึงภพภูมิที่บุคคลผู้รับผลของกรรมต้องไปรับผลของกรรมในภพภูมิที่มีแต่ทุกขเวทนาและสุขเวทนาตามเหตุปัจจัยการส่งผลของกรรมทั้งฝ่ายอกุศลกรรมและกุศลกรรม จึงก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ คือ “BUM Model” B คือ ความเชื่อในเรื่องกรรมและผลของกรรม U คือ ความรู้และเข้าใจเรื่องกรรมและผลของกรรม M คือ การกระทำ ที่ดีทางแห่งการกระทำที่เป็นกุศลเพื่อความสุขความเจริญ

References

มหามกุฏราชวิทยาลัย, มูลนิธิ. (2536). พิมพ์ครั้งที่ 3. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับครบรอบ 200 ปี แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ขุนสรรพกิจโกศล. (2534). ปริจเฉทที่ 5 วิถีมุตตสังคหวิภาค. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ผจญ คำชูสังข์. (2548). บาป : ศึกษาเชิงวิเคราะห์ในมโนทัศน์ของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาปรัชญาและศาสนา, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). พิมพ์ครั้งที่ 11. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พิมพ์ครั้งที่ 19. พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทธรรมิก.

พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร). (2541). กรรมทีปนีเล่ม 1. กรุงเทพฯ: สามัคคีสาร (ดอกหญ้า).

พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2537). กฎแห่งกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ฟื้น ดอกบัว, รศ. (2553). แนวความคิดเกี่ยวกับสังสารวัฏการเวียนว่ายตายเกิดในพระพุทธศาสนา. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

วศิน อินทสระ. (2555). หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด. กรุงเทพฯ: ขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์.

สุนทร ณ รังสี. (2550). พิมพ์ครั้งที่ 3. พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แสง จันทร์งาม, ศ. (2550). กฎแห่งกรรม (กฎแห่งเหตุผลทางจิตวิญญาณในธรรมชาติ). เชียงใหม่: ธนุชพริ้นติ้ง.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2553). อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม. กรุงเทพฯ: วิบูลย์กิจการพิมพ์.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2529). สารานุกรมพระพุทธศาสนา. รวบรวมโดย สุเชาวน์ พลอยชุม. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาพิเชษฐ์ ธีรวํโส (ดอกรัก). (2534). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องกรรมและสังสารวัฏในพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนไทยในปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอภิศักดิ์ วรญาโณ (รินไธสง). (2552). การศึกษาวิเคราะห์การให้ผลแห่งกรรมที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระวิพัฒน์ อตฺตเปโม (เอี่ยมเปรมจิต). (2553). การศึกษาวิเคราะห์หลักกรรมและการให้ผลของกรรมในอรรถกถาธรรมบท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2017