เปรียบเทียบการรับรู้ของจิตในพุทธปรัชญาเถรวาทกับเอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ล

ผู้แต่ง

  • พูนศักดิ์ กมล นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

ปรากฏการณ์วิทยาของเอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ล, การรับรู้ของจิตในพุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง เปรียบเทียบการรับรู้ของจิตในพุทธปรัชญาเถรวาทกับเอ็ดมุนด์  ฮุสเซิร์ล โดยมี 2 ประเด็น คือ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ทางจิตของเอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ล และ 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ของจิตในพุทธปรัชญาเถรวาท

จากการศึกษาการรับรู้ทางจิตของเอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ล พบว่า การรับรู้เป็นการแสดงออกของจิตด้วยการพรรณา ผ่านการสำนึกรู้ทางปรากฏการณ์ต่อวัตถุ และความรู้ของเราเป็นเพียงสิ่งที่สร้างขึ้นจากความคิดหรือ จากประสบการณ์ทางจิตเท่านั้น และการรับรู้ของจิตในพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า มีแนวคิดในเรื่องการรับรู้ของจิต โดยการแสดงของจิตเมื่อเกิดการสัมผัสกับอายตนะทั้ง 12 และมีท่าทีในการสนับสนุน ในด้านการรับรู้และการแสดงออกของจิตเป็นหลักสำคัญ จากการเปรียบเทียบการรับรู้ของเอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ล กับพุทธปรัชญาเถรวาท ผู้เขียนมีความเห็นว่า การรับรู้ของเอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ล เป็นการสนับสนุนการสร้างจินตนาการของจิตเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการรับรู้ของจิตในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นการแสดงของจิตที่ปรากฏขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ ที่เราเห็นเป็นปรากฏการณ์

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กีรติ บุญเจือ. (2546). ปรัชญาอรรถปริวรรตของมนุษย์ชาติ. ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

พระมหาพรชัย สิริวโร, ดร. (2554). ปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenolgy). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พิมพ์ครั้งที่ 19. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พระญาณวโรดม. (2538). พิมพ์ครั้งที่ 5. ศาสนาต่างๆ. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

บุญมี แท่นแก้ว (ผศ.). (2548). ปรัชญาตะวันตกร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สุนทร ณ รังสี. (2543). พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สมภาร พรมทา. (2553). พุทธปรัชญาในอภิธรรมปิฎก. กรุงเทพฯ: ปัญญฉัตร์ บุ๊คส์ บายดิ้ง.

บรรจบ บรรณรุจิ. (2533). พิมพ์ครั้งที่ 3. จิต มโน วิญญาณ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไร่เรืองสมาธิ.

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2553). พุทธปรัชญา มิติการมองโลกและชีวิตตามความจริง. กรุงเทพฯ: โครงการสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

H.M. Bhattacharyya. (1959). The Principles of Philosophy. Calcutta Kalidas Munshi: The Proran Press.

Husserl, E. (1973). The Idea of Phenomenology. Tr. By W.P. Alston and G. Nakhnikian Martinus Nijhoff.

https://www.philospedia.net/phenomenology.html (2 April 2017)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2016