วิเคราะห์การคิดเชิงสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • มนัสวี ศรีนนท์

คำสำคัญ:

ความคิด, ความคิดเชิงบวก, ความคิดเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความหมายของการคิด 2) เพื่อศึกษาความหมายเกี่ยวกับการคิดเชิงสร้างสรรค์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์และสรุปเกี่ยวกับการคิดเชิงสร้างสรรค์ จากการศึกษา พบว่า การคิดเชิงสร้างสรรค์นี้เป็นความคิดเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมให้เจริญก้าวหน้า เป็นความคิด ที่นำความล้มเหลวในอดีตมาเป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาการ เป็นความคิดที่ช่วยเชื่อมโยงเรื่องราวในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตและสรรพสิ่ง เป็นความคิดเชิงบวกคือเป็นความคิดที่ไม่นำปัญหาและอุปสรรคที่มีอยู่มาเป็นเครื่องขวางกั้นสิ่งดีๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา และที่สำคัญอย่างยิ่ง เป็นความคิด ที่สามารถกำหนดวิถีชีวิตใหม่ให้กับตนเองและสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม ตามหลักการทางพระพุทธศาสนา การคิดเชิงสร้างสรรค์สอดคล้องกับความคิดแบบโยนิโสมนสิการและสัมมาทิฏฐิ

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.

กรมการศาสนา. (2560). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2560. จาก http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/.

คําหมาน คนไค. (2545). แบบฝึกกิจกรรมการคิดภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เดอะ มาสเตอร์ กรุ๊ป แมแนจเม้นท์ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. (2560). ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking). ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2560. จาก http://taamkru.com/th.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2560). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2560. จาก http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=2.

วรรณวีร์ บุญคุ้ม. (2556). ความสามารถในการคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์ในการเรียนรายวิชาการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศรีสุรางค์ ทีนะกุล และคณะ. (2542). การคิดและการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

ศรีฟ้า จีรัตน์. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในด้านการคิดจินตนาการกับความสามารถใช้ภาษาในการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศรินทิพย์กลิ่นอุบล. (2560). การคิดสร้างสรรค์ VS การคิดเชิงสร้างสรรค์. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2560. จาก https://www.gotoknow.org/posts/540831.

ศศิมา สุขสว่าง. (2560). 9 ทักษะการคิด (9 Thinking Skills). ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2560. จาก https://www.sasimasuk.com.

สุวิทย์ มูลคำและคณะ. (มปพ.). กลยุทธ์การพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: EK BOOKS.

สมภาร พรมทา. (2551). คิดอย่างไรให้มีเหตุผล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2017