ทฤษฎีความรู้ในปรัชญาจวงจื่อ
คำสำคัญ:
ทฤษฎีความรู้, ปรัชญาจวงจื่อ, สัจนิยมบทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์ทฤษฎีความรู้ในปรัชญาจวงจื่อ โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประการที่หนึ่ง เมื่อศึกษาทฤษฎีความรู้ในปรัชญาจวงจื่อ พบว่า จวงจื่อเป็นนักปรัชญาลัทธิเต๋า ซึ่งเป็นลูกศิษย์คนสำคัญของเหลาจื่อ (Lao-Tzu) โดยทฤษฎีความรู้ที่ปรากฏในปรัชญาจวงจื่อมีลักษณะเป็นสัจนิยม (Realism) ที่ถือว่าความรู้ที่ได้เป็นทั้ง 2 ระดับคือ 1) ความรู้เชิงอัตนัย (Subjective knowledge) จวงจื่อกล่าวถึงบ่อยเพราะเป็นความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติฝึกจิตของผู้รู้ได้ จวงจื่อตั้งคำถามทางญาณวิทยาหรือทฤษฎีความรู้ว่าหากสิ่งที่มนุษย์มองว่า “งาม” “ดี” “ถูกต้อง” เป็นเช่นนั้นจริงแล้วเหตุใดไม่ว่า ปลา, นก, กวาง และลิง ต่างก็มีปฏิกิริยาที่แตกต่างจากพฤติกรรมของมนุษย์เมื่อมองสิ่งเหล่านั้น และ 2) ความรู้เชิงปรนัย (Objective knowledge) คือการวางหลักการเกี่ยวแนวคิดของจวงจื่อ ไม่ได้ดำรงอยู่อย่างไร้เหตุผล แต่ยังได้วิเคราะห์ถึงเรื่องความรู้ไปถึงแก่นแท้ของธรรมชาติด้วยเช่นกัน ทำให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดกลายเป็นเรื่องความรู้ตามกระบวนการแปรเปลี่ยนอันเป็นการกระทำที่พึงประสงค์นี้จะทำให้ “ความรู้”และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ การแปรผันทางปัญญาที่นำไปสู่มรรคา จึงกลายเป็นความรู้อันยิ่งใหญ่ได้
ประการที่สอง เพื่อวิเคราะห์ทฤษฎีความรู้ในปรัชญาจวงจื่อ พบว่า จวงจื่อถอดถอนความเป็นมนุษย์ออกจากการเป็นศูนย์กลางใน ซึ่งเกณฑ์การตัดสินทฤษฎีความรู้ในปรัชญาจวงจื่อมี 2ระดับคือ 1) ความรู้ที่เป็นความจริงของโลก (Realism knowledge of world) จวงจื่อไม่ได้ปฏิเสธความเป็นไปได้ของความรู้ จวงจื่อเชื่อว่ามนุษย์มีความรู้ได้คือ “การรู้” (Knowing) หรือ จื้อ (Zhi) ที่ต่างจาก “ความรู้” (Knowledge) เพราะความรู้เป็นเรื่องของการได้ประสบการณ์บางสิ่งบางอย่าง เพราะจวงจื่อ เชื่อว่าเป็นเพียงความรู้ที่มาจากภาษาเท่านั้น และ 2) ความรู้ที่เป็นความจริงของภาษา (Realism knowledge of Language) การตีความของจวงจื่อมองว่าความรู้ คือ ความสามารถในการแยกแยะทางภาษาการที่จวงจื่อไม่ได้ไว้ใจความสามารถของภาษา ในการนำไปสู่ความรู้ใดๆได้นั้น เกิดจากความสัมพัทธ์เกี่ยวกับขนบของภาษา โดยให้เหตุผลว่าความรู้เรื่องถูกหรือผิดเป็นไปไม่ได้ เพราะการตัดสินประเมินค่าทั้งมวลมาจากกรอบความคิดทางจริยธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผลสนับสนุนและเป็นไปตามขนบของภาษา
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). ( 2552). พิมพ์ครั้งที่ 11. พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2532). พิมพ์ครั้งที่ 7. จริยศาสตร์เบื้องต้น : มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.