ศึกษาการรับผลกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ สุทธิธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กรรม, กุศลกรรม, อกุศลกรรม, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการรับผลกุศลกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต 2) เพื่อศึกษาการรับผลอกุศลกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทเถรวาทที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต 3) เพื่อวิเคราะห์การรับผลกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ผลการวิจัย พบว่า 1. กรรมมีหน้าที่ มีลำดับและมีระยะเวลาในการให้ผลที่ชัดเจนแก่บุคคลที่กระทำกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมให้ได้รับสุขหรือทุกข์อย่างแน่นอน 2. หลักกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทได้จำแนกกรรมและผลของกรรมโดยแสดงถึงบุคคล 4 ประเภท คือ 1) ทำชั่วแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก 2) ทำชั่วแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ 3) ทำดีแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ 4) ทำดีแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก 3. วิเคราะห์การรับผลกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทเถรวาทที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต สรุปได้ว่า 1) ผู้ทำชั่วแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะบุคคลพวกนี้ได้ทำกรรมชั่วต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน 2) ผู้ทำชั่วแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะบุคคลพวกนี้ทำกุศลกรรมไว้มากในชาติก่อน ๆ กุศลกรรมนั้นยังมีแรงให้ผลอยู่ ส่วนกรรมชั่วที่เขาทำใหม่นั้นยังไม่ทันให้ผล 3) ผู้ที่ทำดีแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะบุคคลพวกนี้ทำความดีติดต่อกันตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันกุศลกรรมนั้นส่งผล 4) ผู้ที่ทำดีแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะคนพวกนี้ได้ทำความชั่วไว้มากในชาติก่อนๆ อกุศลกรรมนั้นยังมีแรงให้ผลอยู่

References

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2543). พระไตรปิฎกและอรรถกถา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระญาณสังวร. (2555). สัมมาทิฏฐิตามพระเถราธิบายของท่านสารีบุตรเถระ. เชียงใหม่: โรงพิมพ์นันทพันธ์.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. (2553). นวโกวาท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.9). (2552). กรรมทีปนี. กรุงเทพฯ: สำนักปฏิบัติธรรมประจาจังหวัดสงขลา.

พระธรรมวิสุทธิกวี. (2552). กฎแห่งกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2557). พุทธปรัชญา : ศึกษาและวิเคราะห์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

พระมหาพิเชษฐ์ ธีรว โส (ดอกรัก). ( 2534). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องกรรมและสังสารวัฎในพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนไทยในปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวิพัฒน์ อตฺตเปโม (เอี่ยมเปรมจิต). (2553). การศึกษาวิเคราะห์หลักกรรมและการให้ผลของกรรมในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอุทัย จิรธมโม (เอกสะพัง). (2534). ทัศนะเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทและปัญหาเรื่องกรรมในสังคมชาวพุทธไทยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุทัสศรี สายร่วมญาติ. (2553). อิทธิพลของความเชื่อเรื่องกรรมที่มีต่อชีวิตของผู้สูงอายุ : ศึกษากรณีผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยามหาบัณฑิต, บัณฑิตศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชาดา วสุธาร. (2553). ความเชื่อเรื่องการแก้กรรมในสังคมไทยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2018