ศึกษาศีลกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแม่ชีไทยในยุคปัจจุบัน
คำสำคัญ:
ศีล, แม่ชีไทย, ยุคปัจจุบัน, คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาศีล 8 ในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตแม่ชีไทยในยุคปัจจุบัน และ 3) เพื่อศึกษาศีลกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตแม่ชีไทยในยุคปัจจุบันตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท
ผลการวิจัย พบว่า 1. ศีล 8 ในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ หลักปฏิบัติเกี่ยวกับข้อควรงดเว้นต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นแบบฝึกหัดในการฝึกตนแก่เหล่าพุทธบริษัท ในสมัยพุทธกาลหลักศีล 8 เป็นศีลที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่อุบาสกและอุบาสิกาไว้สำหรับสมาทานในวันพระหรือวันอุโบสถ ศีล 8 เป็นศีลระดับกลาง ต่อมาแม่ชีไทยได้นำหลักศีล 8 มาเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้แก่ 1) การละเว้นจากการฆ่าสัตว์ 2) ละเว้นจากการลักขโมย 3) ละเว้นจากการประพฤติที่ไม่เป็นพรหม 4) การละเว้นจากการพูดเท็จ 5) การละเว้นจากการดื่มน้ำเมา 6) การละเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล 7) การละเว้นจากการฟ้อนรำขับร้องดูการเล่นมหรสพ การทัดดอกไม้การประพรมน้ำหอม การสวมเครื่องประดับ 8) การละเว้นจากที่นั่งที่นอนบนที่สูงใหญ่ 2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตแม่ชีไทยในยุคปัจจุบัน คือ การทำให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นไปจนเข้าถึงจุดมุ่งหมายของชีวิตในพุทธปรัชญาเถรวาทคืออิสรภาพหรือภาวะไร้ปัญหา ไร้ทุกข์ ความเต็มอิ่มที่ชีวิตไม่มีความบกพร่องตามหลักพัฒนาคุณภาพชีวิตในพุทธปรัชญาเถรวาท 4 ประการ คือ 1) กายภาวนา 2) สีลภาวนา 3) จิตภาวนา และ 4) ปัญญาภาวนา 3. ศีลกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตแม่ชีไทยในยุคปัจจุบันตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปว่าการปฏิบัติตามหลักศีล 8 ให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น ผู้ปฏิบัติต้องใช้วิจารณญาณศึกษาและทำความเข้าใจในหลักศีล 8 และหลักธรรมที่เป็นองค์ประกอบให้ชัดเจน ได้แก่ หลักอริยอุโบสถ หลักวิรัติ หลักอินทรียสังวร และหลักโยนิโสมนสิการ แล้วนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านการพัฒนาพฤติกรรม จิตใจ และสติปัญญา
References
ธัมมนันทาภิกษุณี. (2547). เรื่องของภิกษุณีสงฆ์. กรุงเทพฯ: ส่องศยาม.
พระเทวินทร์ เทวินฺโท. (2546). พิมพ์ครั้งที่ 2. พุทธจริยศาสตร์ จริยศาสตร์ และจริยธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาบรรณาคาร.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). พุทธธรรมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). พิมพ์ครั้งที่ 6. ธรรม กับ การศึกษา – พัฒนาชีวิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พิมพ์ครั้งที่ 11. พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พิมพ์ครั้งที่ 12. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2541). หนังสือโลกและชีวิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พรศิวการพิมพ์.
พุทธทาสภิกขุ. (2525). บรมธรรมภาคต้น. กรุงเทพฯ: การพิมพ์พระนคร.
แม่ชีจรินท์ พันธุบัญญัติ. (2526). พิมพ์ครั้งที่ 3. คู่มือระเบียบวินัยของแม่ชีฉบับอักษรไทย. ม.ป.ท.
วศิน อินทสระ. (2541). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทองกราว.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2553). พิมพ์ครั้งที่ 4. ศีลในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2540). พิมพ์ครั้งที่ 5. ลักษณะพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์. (2515). ธรรมานุกรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2546). อานิสงส์การสมาทานศีล 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สุเชาวน์ พลอยชุม ร.ศ. (2552). พุทธปรัชญาในพระสุตตันตปิฎก. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.
สุวรรณ เพชรนิล. ร.ศ. (2524). พุทธปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปาริชาด สุวรรณบุปผา. ดร. ผศ. (2545). แม่ชีกับภารกิจทางการศึกษาในประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (หน้า 104). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
พระมหาบุณยเกียรติ วรธมฺโม. (2555). การศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมที่เกื้อหนุนต่อการรักษาอุโบสถศีลของอุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระชินาธิ ชินวโร. (2555). การบำเพ็ญศีลบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาท : กรณีศึกษาพระภูริทัตตชาดก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม (อามาตมนตรี). (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างสัจธรรมกับจริยธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระกนกพัฒน์ นาถธมฺโม. (2545). การบวชชีในพระพุทธศาสนา : ศึกษาเฉพาะกรณีในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุดใจ พุทธวิเศษ. (2527). สถานภาพและบทบาทของแม่ชีไทยในสังคมไทย : ศึกษากรณีวัดสร้อยทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยุพิน ดวงจันทร์. (2542). สตรีกับการบวชในพระพุทธศาสนา : ศึกษาเปรียบเทียบสถานภาพและทรรศนะของแม่ชีวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร และสำนักปฏิบัติธรรม แดนมหามงคล กาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระมหาสังเวย ธมฺมเนยตฺติโก. (2536). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่อง ชีวิตภิกษุณีกับการบรรลุอรหัตตผล : เฉพาะที่ปรากฏในเถรีคาถา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประคอง สิงหนาทนิติรักษ์. (2516). บทบาทแม่ชีไทยในการพัฒนาสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประเสริฐ ทองเกตุ. (2534).เหตุผลของการบวชชีและความต้องการศึกษาของแม่ชีไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
แม่ชีกาญจนา โภคสวัสดิ์. (2551). บทบาทของแม่ชีไทยที่มีต่อการปลูกฝังคุณธรรมแก่เยาวชน. สารนิพนธ์สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระครูนิเทศธรรมาราม. (2524). ชีวิตแม่ชี. แม่ชีสาร. ฉบับที่ 1 (พฤษภาคม – กรกฎาคม 2524) หน้า 33-34.
ฉลอง ช่วยธานี. (2532). ใบลาน. แม่ชีไทย. ฉบับที่ 9 ประจำเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2532 หน้า 39-40.