ปรากฏการณ์ลัทธิอัตถิภาวนิยมในบทเพลงของศิลปินวงบอดี้สแลม
คำสำคัญ:
ปรากฏการณ์, ปรัชญาอัตถิภาวนิยม, สารัตถะบทคัดย่อ
บทความนี้ผู้เขียนมุ่งศึกษาปรากฏการณ์ลัทธิอัตถิภาวนิยมในบทเพลงของศิลปินวงบอดี้สแลม เป็นปรากฏการณ์ทางปรัชญาที่แสวงหาปรัชญาสายอัตถิภาวนิยม ถือว่าการค้นหาสารัตถะทำให้ผู้คิดออกห่างจากความเป็นจริง ความเป็นจริงที่แท้ก็คือ อัตถิภาวะของแต่ละบุคคลซึ่งมีสิ่งแวดล้อมและสภาพที่ตนเองสะสมไว้ โดยการตัดสินใจเลือกตั้งแต่ต้นมาจนปัจจุบันปรัชญาที่มีประโยชน์ก็คือปรัชญาที่ศึกษาอัตถิภาวะของตนเอง ปรัชญาสายนี้ดึงความสนใจค้นคว้าใฝ่หาความเป็นจริงที่อยู่ภายนอกตัวมนุษย์ที่หาเท่าไรก็ไม่มีทางพบ และไม่มีทางรู้ว่าจริงได้ เข้ามาสู่ความเป็นจริงที่มีอยู่แน่ๆภายในตัวตนมนุษย์แต่ละคนที่ต้องรู้และปฏิบัติด้วยตนเองตลอดเส้นทางสายดนตรีของกลุ่มศิลปินวงบอดี้สแลมเป็นศิลปินร็อกที่ได้รับความอิทธิพลลัทธิอัตถิภาวนิยมมากที่สุด สังเกตได้จากท่าทีเนื้อหาสาระในบทเพลงที่โดดเด่นที่เกี่ยวกับโลก ชีวิต ธรรมชาติ ล้วนแล้วมีความสัมพันธ์ต่อมนุษย์ สิ่งเหล่านี้เองจึงทำให้เกิด “ปรากฏการณ์ใหม่” ที่ผ่านการกลั่นกรองฐานอัตถิภาวนิยมเพื่อสร้างสรรค์ “ภาษาเพลง” ในความเป็นอัตลักษณ์ของศิลปินวงบอดี้สแลมที่กำลังได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วประเทศ
References
โกมุท ทีปวัฒนา. (2530). ปรัชญาเอ็กซิสเทนเชียล. กรุงเทพฯ: สมิต.
เครือจิต ศรีบุญนาค. (2542). สุนทรีภาพของชีวิต. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟเอ็ดดูเคชั่น.
พระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม) และพระมหานิมิตธมฺมสาโร, (ผู้ตรวจชำระ). (2546). คัมภีร์สุโพธา ลังการมัญชรี. กรุงเทพฯ: ไทยรายวันการพิมพ์.
สุกรี เจริญสุข. (2535). สรุปคำบรรยายวิชาสุนรียศาสตร์ทางดนตรี. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. (อัดสำเนา).
Søren Kierkegaard. (1987). Either. 2 vols., tr. Howard V. Hong and Edna H. Hong. Princeton. NJ: Princeton University Press.
Søren Kierkegaard. (1983). Fear and Trembling and Repetition. tr. Howard V. Hong and Edna H. Hong. Princeton. NJ: Princeton University Press.
Søren Kierkegaard. (1988). Stages on Life’s Way. tr. Howard V. Hong and Edna H. Hong. Princeton. NJ: Princeton University Press.