ศึกษาวิเคราะห์มิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระมหาเอกชัย สุชโย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

มิจฉาทิฏฐิ, สัมมาทิฏฐิ, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษามิจฉาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสัมมาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์มิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร

ผลการศึกษา พบว่า มิจฉาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท ได้แก่ การถือผิด ความงมงายด้วยการยึดถือผิดว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ส่วนสัมมาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท ได้แก่ ความเห็นถูก ความเห็นชอบ ความเข้าใจถูกต้อง ความศรัทธาถูกต้อง ความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม และสัมมาทิฏฐินี้มีอยู่ 2 อย่าง คือ 1. สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ จัดเป็นฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์ 2. สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์มรรค เป็นความเห็นในอริยสัจ 4 และวิเคราะห์มิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปได้ว่าทุกคนควรฝึกฝนอบรมและพัฒนาปัญญาจากมิจฉาทิฏฐิกับพัฒนาสัมมาทิฏฐิระดับกัมมัสกตาญาณเพื่อก้าวไปสู่สัจจานุโลมิกญาณ เพราะจะช่วยบรรเทาความโลภ โกรธ หลง ทำให้จิตผ่องใส และรู้จักวางท่าทีต่อโลก ความเห็นถูกต้องมีความสำคัญมาก เปรียบเหมือนประทีปส่องนำทางให้บุคคลเดินทางได้สะดวก ไม่เกิดอันตรายในเวลาเดินทาง

References

กรมการศาสนา. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). การศึกษาพัฒนาการหรือบูรณาการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (2551). กรุงเทพฯ : บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

พุทธทาสภิกขุ. (2518). ความเป็นเจ้าโลก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ. (2546). ศาสนาสากล เล่ม 3. กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-05-2019