การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นกลาง
คำสำคัญ:
ความเป็นกลาง, ปรชญาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นกลาง โดยแบ่งแนวการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ส่วนของการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นกลางทั้งในสายตะวันตกและสายตะวันออก และ 2) ส่วนของการวิเคราะห์แบ่งประเภทของความเป็นกลาง
ผลการศึกษาพบว่า แนวความคิดเกี่ยวกับความเป็นกลางแบ่งเป็นสองแนว คือแนวคิดเชิงอภิปรัชญาและแนวคิดเชิงสังคมประยุกต์ แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นกลางในสายตะวันตกมักเป็นแนวคิดเชิงสังคมประยุกต์ เช่น หลักความยุติธรรมของเพลโต หลักความพอดีของศาสนายูดาห์ เป็นต้น ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นกลางในสาย ตะวันออกมักเป็นแนวคิดเชิงอภิปรัชญา เช่น หลักจุง-หยุง ของขงจื๊อ หลักโยคะ ของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หลักมัชเฌนธรรมของพุทธศาสนา เป็นต้น
ในส่วนของการวิเคราะห์แบ่งประเภทของความเป็นกลาง พบว่ามีรูปแบบความเป็นกลางทั้งหมด 9 ประเภท คือ ประเภทกึ่งกลาง ประเภทเท่ากัน ประเภทสมดุล ประเภทไม่เอนเอียง ประเภทเสมอภาค ประเภทดุลยภาพ ประเภทยุติธรรม ประเภทพอประมาณและประเภทไม่ยึดติด โดยความเป็นกลางทั้ง 9 ประเภทสามารถจัดหมวดหมู่ใหญ่ๆออกมาได้ 2 หมวดหมู่ คือ ความเป็นกลางสัมบูรณภาพ และความเป็นกลางสัมพัทธภาพ
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อนัตตา (นามแฝง). (2538). ศึกษาคัมภีร์ทางสายกลาง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ส่งเสริมคุณภาพชีวิต.
Bertrand Russell. (1997). the Problems of Philosophy. London: Oxford University Press.
David Loy. (1997). Nonduality. New Jersey: Humanity Press.