การทำความเข้าใจความทุกข์โดยการทำความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์

ผู้แต่ง

  • พระจาตุรงค์ ชูศรี วัดวิเศษการ แขวงศิริราช กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ความทุกข์, มนุษย์, ธรรมชาติของมนุษย์

บทคัดย่อ

บทความนี้ผู้เขียนนำเสนอว่า “การทำความเข้าใจความทุกข์โดยการทำความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์” คือการเข้าใจใน 3 ประเด็นคือ 1. การเข้าใจชีวิต(มนุษย์) ตามความเป็นจริงในประเด็นเรื่องเบญจขันธ์ 2. การเข้าใจกิเลสของมนุษย์  3. การเข้าใจตัณหาของมนุษย์

เป้าหมายของการเข้าใจความทุกข์ ทำให้เห็นว่า มนุษย์นั้นมีการขับเคลื่อนชีวิตอยู่บนรากเหง้าที่เป็นเชิงลบก็ได้ คือการมองว่ามนุษย์มีธรรมชาติที่เลวร้าย หรือมีธรรมชาติที่เป็น “อกุศล” หรือ “ฝ่ายชั่ว” ติดตัวมา แต่ธรรมชาติดังกล่าวนี้ก็ผลักดันให้มนุษย์ดำรงเผ่าพันธุ์และครองตนอยู่ได้

ดังนั้น มุมมองต่อประเด็นเรื่อง “ธรรมชาติของมนุษย์เรื่องความทุกข์ดังกล่าวไม่ใช่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีโลกทัศน์และชีวทัศน์(World view and World Life) ที่เป็นไปเชิงลบหรือแง่ร้าย(Pessimism) แต่มุมมองดังกล่าวนี้เป็นความจริง(Truth)ของโลกและชีวิตที่ไม่อาจปฏิเสธได้

References

ธรรมสภา. (2554). พจนานุกรมธรรมฉบับพุทธทาส. กรุงเทพฯ : สถาบันบันลือธรรม.

พุทธทาสภิกขุ. (2556). คู่มือมนุษย์. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

พุทธทาสภิกขุ. (2549). ศิลปะแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ : ธรรมทานมูลนิธิและธรรมสภา.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2554). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ-เพิ่ม ช่วงที่ 1/ยุติ). พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

พระมหาปราโมทย์ ปโมทิโต. (2541). พจนานุกรมธาตุภาษาบาลี. กรุงเทพฯ : เอกพิมพ์ไทจำกัด.

วิโรจน์ นาคชาตรี. (2544). พุทธปรัชญาเถรวาท. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2532). ประวัติศาสตร์ศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2019