ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู ในอำเภอเมือง สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา เขต 1
คำสำคัญ:
บรรยากาศองค์การของโรงเรียน, พฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บรรยากาศองค์การของโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan (1977, pp.607-610 ) จำนวน 795 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสอบถาม 2 ฉบับ ที่ข้อคำถามทุกข้อมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.36 – 0.65 และนำมาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s a- coefficient) พบว่า ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามของฉบับที่ 1 เท่ากับ 0.91 และแบบสอบถามฉบับที่ 2 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัย พบว่า (1) บรรยากาศองค์การของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) พฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
ทฤษฎี หลิมทอง. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของพนักงานครูเทศบาล สังกัดเทศบาลเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
เทพพนม เมืองแมน และ สวิง สุวรรณ. (2550). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ธงชัย สันติวงษ์. (2550). พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
ยุภาพร ทองลาภ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ลัดดา ชูศักดิ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดบรรยากาศในห้องเรียนกับการมีระเบียบวินัยในห้องเรียนของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิไลวรรณ นามเขต. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูในจังหวัดสุรินทร์ เขต 1. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาในต้น ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ์.
พิชัย ไชยสงคราม. (2553). ความเป็นครู. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2536). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุโขทัยธรรมาธิราช.
ยนต์ ชุ่มจิต. (2544). การศึกษาและความเป็นครู. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ระวัง เนตรโพธิ์แก้ว. (2542). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.
รุ่ง แก้วแดง. (2546). โรงเรียนนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. NewYork Harper Collins.
Daft. L.R. (2008). Management. 10th Ed. Thomson South-West. Tennesee.
Drucker. F. P. (1999). Management Challenges for the Century. NewYork HarperCollins.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1977). Determining Sample Size for Research Activity. Educational and Psychological Measurement. ปีที่ 30 ฉบับที่ 3.