การศึกษาวิเคราะห์อัตลักษณ์การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ:
อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, จังหวัดแม่ฮ่องสอนบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการศึกษาวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์อัตลักษณ์การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2. เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดอัตลักษณ์การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดแม่ฮ่องสอน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากการค้นคว้าเอกสาร บทความ แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการลงพื้นที่จริงใช้การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม เพื่อนำข้อมูลมารวบรวมเป็นลักษณะทางกายภาพความเป็นอยู่ปัจจุบัน และมีการใช้เครื่องมือในการทำเบียบวิจัยจากการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งแบ่งออกเป็นคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว แล้วสรุปเป็นตัวชี้วัดอัตลักษณ์การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยว หากพิจารณาจะพบแนวคิดบนความเข้าใจบนลักษณะที่แสดงความเป็นตัวตนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ที่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์และความยั่งยืนของระบบนิเวศ ส่วนการวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ถูกนำเสนอผ่านชุมชนบ้านผาบ่อง ซึ่งมีอัตลักษณ์วัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ และชุมชนบ้านสันติชล คือชาวจีนยูนนานหรือจีนฮ่อโดยวัฒนธรรมของชุมชนทั้งสองนี้
การค้นหาตัวชี้วัดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้วางรูปแบบตัวชี้วัดไว้ 3 ระดับคือ 1. มิติทางกายภาพ มีเป้าหมายหรือคุณค่าทางด้านเรื่องอาหาร การแต่งกายและที่อยู่อาศัยที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม 2. มิติทางจิตใจ มีเป้าหมายหรือคุณค่าทางด้านวัฒนธรรม ประเพณีและพระพุทธศาสนาที่ปรากฎอยู่ในขนบประเพณี 3. มิติทางปัญญาเน้นเป้าหมายหรือคุณค่าทางด้านการสืบทอดภูมิปัญญา ภาษา การละเล่น การแพทย์ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมคือ สืบสานการละเล่น สืบสานภาษาถิ่น มีระบบภูมิปัญญาทางการแพทย์ และรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือ เรียนรู้ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาเกี่ยวกับโบราณสถานและข้าวของเครื่องใช้ของชนเผ่า
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2561). ที่ว่าการปกครองอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2561 จาก http://www.amphoepai.go.th/about.php.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). แม่ฮ่องสอน. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2562 จาก https://thai.tourismthailand.org/Destinations/Provinces/แม่ฮ่องสอน/106.
กันทนา แก้วศรี.(2553). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยววัฒนธรรมในประเพณีออกหว่าและประเพณีแห่งเทียนเหง ของอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน, กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.
ขวัญนภา สุขคร และคณะ. (2557). ประเพณี อารยธรรมล้านนา: คุณค่าศรัทธาและความเชื่อ. แม่ฮ่องสอน: โครงการเสริมสร้างและปรับแต่งอัตลักษณ์เพื่อส่งสร้างเสน่ห์การท่องเที่ยว.
พรรณปพร ภิรมย์วงษ์.(2552). ศึกษาเรื่องอัตลักษณ์และการท่องเที่ยว : ศึกษากรณีผู้ไทบ้านภู ตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีระพล ทองมา และคณะ. (2554). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชุมชนชาวจีนในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่, รายงานการวิจัย , เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
โสวัตรี ณ ถลาง และ สุดารัตน์ รอดบุญส่ง. (2552). “อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมความเข้มแข็งในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืนของจังหวัดสระบุรี”. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ฉบับที่ 350 ปี: 51-61.
Greg Richards and Wil Munsters. (2010). Cultural Tourism Research Methods. UK: AMA Dataset, Preston.
Susan Pitchford. (2008). Identity Tourism : Imaging and Imaging the Nation. UK : Emerald Publishing Limited.