วิชาสุดท้าย ที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน เล่ม 2
คำสำคัญ:
จิตวิทยาเชิงบวก, การศึกษาบทคัดย่อ
การสำเร็จการศึกษาเปรียบเสมือนการที่เราจะได้ก้าวสู่บทบาทใหม่ในชีวิต บางคนอาจจะก้าวไปในหนทางที่สวยงามแต่อีกหลาย ๆ คนก็อาจจะพลัดหลงไปในหนทางที่ยากเข็ญ ช่วงเวลานี้จึงถือเป็นช่วงสำคัญที่อาจส่งผลถึงทั้งชีวิต หลาย ๆ มหาวิทยาลัยจึงมีการเชิญบุคคลที่ประสบความสำเร็จมาถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิต รวมถึงข้อคิดสำคัญที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับบัณฑิต
หนังสือเรื่อง “วิชาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน 2”: ไม่เพียงแต่แปลความหมายของสุนทรพจน์ที่ทั้ง10 ท่าน ได้กล่าวในวันรับปริญญาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ยังเรียบเรียงคำให้ผู้ที่อ่านได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และยังมีเนื้อหากินใจผู้อ่าน สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อ่านได้อีกด้วย สุนทรพจน์ของทั้ง10 ท่าน ที่ได้กล่าวมานั้นมีแนวคิดหลายอย่างแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่เหมือนกันของทั้ง10 ท่านนั่นก็คือ การให้ข้อคิด แนวทางการใช้ชีวิต แรงบันดาลใจแก่ผู้อ่านและผู้ฟัง
References
ทิศนา แขมณี. (2555). บัณฑิตศึกษาในศตวรรษที่ 21: การปรับหลักสูตรและการสอน. เอกสารอัดสำเนา.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
สฤณี อาชวานันทกุล. (2555). วิชาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ. openbooks.
The Partnership for 21st Century Skill. (2009). Framework for 21st Century Learning. Retrieved January 5, 2020, from http://21stCenturyskill.Org/index.php.
Kay, K. (2010). 21st Century Skills: Why the Matter, What They are, and How We Get There. In Bellanca, J.& Brandt, R. (Eds.), 1st CenturySkills: Rethinking How Students Learn. Bloomington, In: Solution Tree Press.
Martin, J. (2010). The Meaning of the 21st Century. Bangkok. L.T.P.