การถอดบทเรียนโครงการแก้ไขจุดเสี่ยงทางถนนในชุมชนโดยหน่วยจัดการร่วม (NODE) ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ผู้แต่ง

  • อุดมกฤษฏิ์ ศรีนนท์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • รัศมี ศรีนนท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
  • เสกสรร ดีชวนะเลิศ โรงพยาบาลอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • สมคิด เชาว์ช่างเหล็ก กระทรวงวัฒนธรรม
  • ทวี เลียวประโคน คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การถอดบทเรียน, โครงการชุดความรู้การป้องกันจุดเสี่ยงทางถนนในชุมชน, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการถอดบทเรียน โครงการแก้ไขจุดเสี่ยงทางถนนในชุมชนภายใต้การดำเนินงานของหน่วยจัดการร่วม NODE ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นการถอดบทเรียนสรุปการดำเนินงานของโครงการจุดจัดการ จากการดำเนินงานโครงการเป็นระยะเวลา 18 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – มีนาคม 2563  ผลการถอดสรุปบทเรียนของทุกพื้นจำนวน 6 พื้นที่ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ทุกพื้นที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการ โดยมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุเป็น 0 หลังดำเนินโครงการ  การศึกษาวิจัยนี้ มีข้อเสนอแนะว่า ควรส่งเสริมให้ชุมชนทำวิจัยโครงการอย่างเป็นระบบด้วยชุมชนเอง เช่น การออกแบบวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลการวิจัยเพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนมากขึ้น

References

อุทัย ดุลยเกษม. (2560). กรองความคิดด้านการศึกษาตลอดชีวิตในสังคมไทย ยุค 4.0 บรรณาธิการ ดร.พีรเทพ รุ่งคุณากร. ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุทัย ดุลยเกษม. (2563). สาระของการวิจัย (The Essence of Research) บรรณาธิการ พระครูสุนทรธรรมโสภณ (รศ.ดร.วิเชียร ปัญญาวุฑโฒ). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชุดา เสถียรนาม และคณะ. (2559). คู่มือจัดการจุดเสี่ยงทางถนนในชุมชน (ฉบับปรับปรุงใหม่). ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) และมูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย (มนป.).

นิวัติ สร้อยมาลี. (2556). การศึกษาจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุภายในพื้นที่ตำบลโบสถ์ อำเภอพิมายจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ธนะพงษ์ จินวงษ์และคณะ. (มปป.). คู่มือการแก้ไขจุดเสี่ยงทางถนนในชุมชน (Starter Pack for Road Safety). ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) และมูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย (มนป.).

ภูวดล พลศรีประดิษฐ์ และมะลิ โพธิพิมพ์. ( 2561). การจัดการจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนชุมชนเขตเมือง : กรณีศึกษาชุมชนโคราชคฤหาสน์ทอง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 หน้า 66-77.

สิริชัย ชูนาคา. (2559). การศึกษาความปลอดภัยทางถนนในเขตชุมชนเมือง : กรณีศึกษาบ้านคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Thai PBS. (2553). รายงานการแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงทางถนน ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส. วันที่ 16 สิงหาคม 2553 แหล่งอ้างอิงข้อมูล https://news.thaipbs.or.th/content/216844

สุรางค์ศรี ศีตมาโนชญ์และคณะ. (2555). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการ การพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรอย่างมีส่วนร่วม โดยอาศัยทรัพยากรและศักยภาพในพื้นที่ วงรอบที่ 3 จังหวัดภูเก็ต. ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2020