หลักธรรมเพื่อคุณภาพและความสำเร็จของงานวิจัย

ผู้แต่ง

  • พระมหาไพจิตร อุตฺตมธมฺโม คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • พระมหาณัฐวุฒิ สงวนงาม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักธรรม, ความสำเร็จ, งานวิจัย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษา วิเคราะห์ หลักธรรมเพื่อคุณภาพและความสำเร็จของงานวิจัย ในการดำเนินการวิจัยนั้นการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมและความเป็นประชาธิปไตยในการกระทำงานวิจัยร่วมกันของผู้วิจัยกับผู้ร่วมวิจัยเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ผู้เขียนเห็นว่า ควรมีหลักธรรมเป็นเครื่องชี้นำ เพื่อใช้เป็นข้อคิดตลอดระยะเวลาในการทำวิจัย เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย โดยเชื่อว่าการนำหลักธรรมที่จะกล่าวถึงข้างล่างนี้มาใช้ ได้ช่วยเสริมสร้างให้การดำเนินงานวิจัยเป็นไปอย่างมีคุณภาพมากขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยตามหลักการ แนวคิด และลักษณะของการวิจัยดังกล่าวเป็นไปอย่างมีคุณภาพและบรรลุผลสำเร็จ หลักธรรมที่นำมาใช้ประกอบในการวิจัย ได้แก่ กัลยาณมิตรธรรม 7  สังคหวัตถุ 4 วุฒิธรรม 4 เวสารัชชกรณธรรม 5 สาราณียธรรม 6 อริยทรัพย์ 7 นาถกรณธรรม 10 สัปปุริสธรรม 7 พรหมวิหาร 4 ฆราวาสธรรม 4 และอิทธิบาท 4 การนำหลักธรรมเหล่านี้มาประยุกต์ใช้สามารถเสริมสร้างให้การดำเนินงานวิจัยเป็นไปด้วยความยุติธรรมและมีคุณภาพมากขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยดังกล่าว มีคุณภาพและบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ ตลอดจนสร้างบรรยากาศในการทํางานให้ทํางานอย่างมีความสุข และผลงานมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้เขียนจึงนำหลักธรรมทั้งหมดที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้นมาใช้เป็นฐาน เพื่อใช้ข้อคิด เตือนใจในการทำวิจัย เพื่อมุ่งหวังให้เกิดความรู้ใหม่ในการศึกษาค้นคว้างานวิจัย และการทำวิจัยได้ก่อเกิดงานที่มีคุณภาพต่อไป

References

นรฤทฏ์ สุทธิสังข์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรม 6 กับบทบาทผู้นำของผู้บริหารในองค์กร. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/2RrX53D

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2542). การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, อริทรัพย์ 7. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/2YNP5zN.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม.กรุงเทพฯ: เอส.อาร์ พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2555). ช่วยเหลือสัตว์โลกผู้ที่ยังมืดบอดอยู่ให้มีดวงตาเห็นธรรมถึง. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2562, จาก https://1th.me/He0V.

พระมหาสมควร ศรีสงคราม. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัปปุริสธรรมและพละธรรมกับการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเขตกรุงธนบุรีใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ. (2553). เวสารัชชกรณธรรม วิธีตัดความกังวล 5 ประการ. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/2TdiFJU

พุทธทาสภิกขุ. (2500). ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี หรือ ธรรมวิภาค นวกภูมิ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2562, จาก https://1th.me/Q6fb.

พุทธทาสภิกขุ. (2551). หลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธ. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2563. จากhttp://oknation.nationtv.tv/blog/autan/2011/11/11/entry-2

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). อริทรัพย์ 7. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/2M70Njh

สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง. (2561). วุฑฒิธรรม 4. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562, จาก https://www.phuttha.com/

อุเทน นุตรกลาง. (2554). พุทธศาสนากับการแก้ปัญหาสังคม.สืบค้นเมื่อ 4เมษายน 2563. จาก http://www.satit.up.ac.th/BBC07/AroundTheWorld/reli/15.html

พระมหานพพล สีทอง. (2554). สังคหวัตถุ 4. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2562, จากhttps://castool.com/2016/12/02/

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2554). การทำงานเป็นทีมด้วย "ความรัก" ตามแนวพุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2563. จาก https://www.thairath.co.th/content/159251

ชมรมจริยธรรม สวส.(ม.ป.ป.).ธรรมะกับการทำงาน. สืบค้นเมื่อ 4เมษายน 2563. จากhttp://nih.dmsc.moph.go.th/KM/56/Dhamma_at_work.pdf

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562) กัลยาณมิตรธรรม 7 . สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2562, จากhttps://bit.ly/2NGGZmJ

พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต). (2553). หลักธรรมนำชีวิต. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2563. จาก https://bit.ly/2UZ9oqd

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020