ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรเรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • สิริรัตน์ ทุ่งสินธุ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เฉลิมพงศ์ มีสมนัย สาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • จำเนียร ราชแพทยาคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, เรือนจำกลางบางขวาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร เรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากร เรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี และ (3) ปัจจัยของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากรเรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในศึกษาเป็นบุคลากรของเรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 560 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างชั่วคราว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 170 คนโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  

ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรีในด้านความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และด้านความก้าวหน้าในการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ประกอบด้วย การจัดหาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การใช้ประโยชน์ทรัพยากรมนุษย์ และการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากรเรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรีในระดับปานกลางและ (3)ปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากรเรือนจำบางขวาง จังหวัดนนทบุรี ได้แก่ การจัดหาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์การใช้ประโยชน์ทรัพยากรมนุษย์ และการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์โดยตัวแปรดังกล่าวสามารถร่วมกันพยากรณ์ความสำเร็จในการปฏิบัติงานในภาพรวมได้ร้อยละ 49.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนมาตรฐาน คือ ความสำเร็จในการปฏิบัติงานเท่ากับ 0.378 (การจัดหาทรัพยากรมนุษย์) + 0.235 (การใช้ประโยชน์ทรัพยากรมนุษย์) +0.211 (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) +0.073 (การธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์)

References

ธันย์ชนก ธิติพงศ์วิวัฒน์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

นนทัช ฟรอมไธสง. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรม แกรนด์ไฮแอทเอราวัณ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.

วรัญญา ผลดี. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสายวิชาการและพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. เชียงราย รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

สุวรรณี ทับทิมอ่อน. (2548). แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทบางปะกงวู๊ด จำกัด. (ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559).

สมเกียรติ ฉายพระพักตร์,ปฏิมา ถนิมกาญจน์ และสุกานดา กลิ่นขจร. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

Mc Clelland, Davis C. (1961). The Achieving Society. New York: Vann strand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2020