แนวทางการป้องกันการละเมิดพระวินัยของภิกษุในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • พระมหาบุญส่ง สิริภทฺโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาอดิเดช สติวโร คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวทางการป้องกัน, การละเมิดพระวินัย, ภิกษุในสังคมไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเอกสารเชิงคุณภาพร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการละเมิดพระวินัยของภิกษุในสังคมไทย (2) เพื่อศึกษาการป้องกันการละเมิดพระวินัยของภิกษุในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการป้องกันการละเมิดพระวินัยของภิกษุในสังคมไทย

ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการละเมิดพระวินัยของภิกษุในสังคมไทยเกิดจากปัจจัย 3 ประการ คือ 1) การไม่รู้พระวินัย 2) การไม่ปฏิบัติตามพระวินัย 3) การตีความพระวินัยต่างกัน โดยมีสาเหตุจากการศึกษาและการปกครองคณะสงฆ์ ความสัมพันธ์กับอุบาสก อุบาสิกา และสภาพสังคมไทยเปลี่ยนไป ผลร้ายแรงที่สุดของการละเมิดพระวินัย คือ อาบัติปาราชิก เกี่ยวข้องกับความผิด 4 อย่าง คือ 1) เสพเมถุน 2) ลักของคนอื่นที่มีราคา 5 มาสก 3) จงใจฆ่ามนุษย์ และ 4) อวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน

          แนวทางการป้องกันการละเมิดพระวินัยโดยภาพรวม 1) ฝ่ายพระสงฆ์ ภิกษุ ต้องป้องกันตนเอง ด้วยหลักธรรมคือ หิริและโอตตัปปะ สติ สัมปชัญญะ สร้างสมณสัญญา คณะสงฆ์ คือ คณะสงฆ์ผู้ใกล้ชิด คอยแนะนำ บอกสอน ประพฤติปฏิบัติให้ดูเป็นแบบอย่าง คณะสงฆ์ผู้ปกครอง มีอำนาจหน้าที่ปกครองโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และพระวินัย 2) ฝ่ายฆราวาส คอยช่วยป้องกัน สอดส่องดูแล

 

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2551). พิมพ์ครั้งที่ 6. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2560).พิมพ์ครั้งที่ 85. นวโกวาท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมิทธิพล เนตรนิมิตร. (2553). ภาพชีวิตของพระสงฆ์ในอริยวินัย. กรุงเทพฯ: บริษัท นีโอ ดิจิตอล จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020