แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักความเสียสละของพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระมหาพิทักษ์ จิตฺตโสภโณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาอดิเดช สติวโร คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความเสียสละ, บารมี, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักความเสียสละของพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเสียสละของพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับความเสียสละของพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักความเสียสละของพระโพธิสัตว์ในสังคมปัจจุบัน โดยใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพด้านเอกสารและมีการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประกอบการวิจัยเรื่องนี้ด้วย
ผลการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาความเสียสละของพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่ารูปแบบความเสียสละของพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทมี 5 รูปแบบ คือ ความเสียสละทรัพย์ ความเสียสละบุตรธิดา ความเสียสละภรรยา ความเสียสละอวัยวะ ความเสียสละชีวิต และมี 3 ระดับบารมี คือ ทานบารมี ทานอุปบารมี ทานปรมัตถบารมี
ในด้านการศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับความเสียสละของพระโพธิสัตว์ พบว่า มีธรรมหลักประกอบด้วย ทศบารมี และธรรมสนับสนุนประกอบด้วย อกุศลมูล เบญจศีล เบญจธรรม สัทธา 4 พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 ฆราวาสธรรม 4 บุญกิริยาวัตถุ 10 ส่วนด้านการเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักความเสียสละของพระโพธิสัตว์ในสังคมปัจจุบัน พบว่า บารมี 10 ประกอบด้วย ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี เป็นคุณธรรมหลักที่ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ ด้านกายและทรัพยากร ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยใช้บารมีต่าง ๆ ได้แก่ ทานบารมี และศีลบารมี ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านกายและทรัพยากร เนกขัมมบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี และอธิษฐานบารมี ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ สัจจะบารมี และเมตตาบารมี ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสังคม ปัญญาบารมี และอุเบกขาบารมี ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านปัญญา

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

พระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม). (2546). สัททนีติ ธาตุมาลา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยรายวันการพิมพ์.

พัฒน์ เพ็งผลา. (2554). วิเคราะห์การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในนิบาตชาดก. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020