ยุทธศาสตร์การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นความดันโลหิตสูงในชุมชนเลียบคลองมอญ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วรรณรักษ์ หนูเพชร คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง, ผู้สูงอายุ, ประเมินยุทธศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ยุทธศาสตร์การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นความดันโลหิตสูงในชุมชนเลียบคลองมอญ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และ ผลการประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นความดันโลหิตสูงในชุมชนเลียบคลองมอญ เป็นแบบการวิจัยและพัฒนา โดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ประชากรคือผู้สูงอายุที่เป็นความดันโลหิตสูง 60 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3) ประเด็นการระดมสมอง และ4)ประเด็นการสนทนากลุ่ม โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลของการวิจัยพบว่า การสร้างยุทธศาสตร์ครั้งนี้ ได้ชื่อวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและกลยุทธ์ครอบคลุมประเด็นยุทธศาสตร์ 5 ด้านได้แก่ ด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน การคลายเครียดและการรักษา นำไปสู่การทดลองส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติตัวการดูแลสุขภาพตนเองได้เพิ่มขึ้นเหมาะสมกับบริบทและประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นความดันโลหิตสูงในชุมชนเลียบคลองมอญ ภาพรวมได้รับการประเมินในระดับดีมาก

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558) . รายงานประจำปี 2558 : โรคเรื้อรังต่าง ๆ. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2550). นโยบายการดูแลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบาย.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2555). แผนพัฒนาสุขภาพ แห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ใน พระบรมราชูปถัมภ์.

Krejcie, R.V & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3). Page 607-610.

Green, L.W, et. al.(1978). PRECEDE – PROCEED Model. Journal of Health Education. Approach, New York.

World Health Organization. (2009). Self- care in Context of Primary Health Care. Report of the Regional Consultation Bangkok, Thailand, 7-9 January 2009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020