การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “เซิ้งผ้าหมี่” ของบ้านขวาวอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การจัดการ, มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมบทคัดย่อ
สภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “เซิ้งผ้าหมี่” ของบ้านขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการประสานความร่วมมือ ดังนั้น การที่จะให้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ของชุมชนยังคงอยู่สืบไปต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนในทุกภาคส่วน และพัฒนาความร่วมมือนั้นให้อยู่ในระดับอุดม การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “เซิ้งผ้าหมี่”และเพื่อหาแนวทางในการการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “เซิ้งผ้าหมี่” ของบ้านขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลจากภาคสนาม ด้วยการ สำรวจ สังเกตผู้มีส่วนร่วม สัมภาษณ์ผู้รู้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ จำนวน 26 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ 10 คน กลุ่มบุคคลทั่วไป จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ ที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง และนำข้อเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า ปัญหาที่พบในการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “เซิ้งผ้าหมี่” ของบ้านขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด คือ ขาดการประสานความร่วมมือกับชุมชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา การวางแผนการดำเนินงาน การลงทุนและปฏิบัติงาน การติดตามและประเมินผล โดยการใช้กลยุทธ์คือ การประชุมกลุ่มย่อย การมีส่วนร่วมสรุปผล การอภิปรายผล ร่วมกันในการแสดงความคิดเป็น ผู้ศึกษาค้นคว้าและกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า เพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “เซิ้งผ้าหมี่” ของบ้านขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีปัจจัยที่ทำให้ขาดการมีส่วนร่วมที่สำคัญ 4 ประการคือ ค่าตอบแทนในการเข้าร่วมเซิ้งผ้าหมี่ งบประมาณสนับสนุนในการจัดซื้ออุปการณ์เซิ้งผ้าหมี่ จุดศูนย์รวมและหน่วยงานที่รับผิดชอบการเซิ้งผ้าหมี่ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมเซิ้งผ้าหมี่ และ แนวทางการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “เซิ้งผ้าหมี่” มีขั้นตอนทั้งสิ้น 5 ขั้นตอนคือ การวิเคราะห์ - สังเคราะห์ปัญหาของชุมชน การวางแผนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิต การกำหนดกิจกรรม การดำเนินกิจกรรม และ การประเมินผล จะทำให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนาประเพณีเซิ้งผ้าหมี่ ชุมชนเกิดความเข้มแข็งพร้อมเผยแพร่ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ให้ออกสู่สาธารณะชนทั่วไป
References
ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์. (2543). โครงการพัฒนาประชาธิปไตยเพื่อเพิ่มศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชน จังหวัดสระบุรี. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยชิต พันชูกลาง. (2556). ความพึงพอใจของประชาชนในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหาร สภา วัฒนธรรมตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยาลัยทองสุข.
ทรงคุณ จันทจร. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรมชั้นสูง. มหาสารคาม : สถานบันวิจัยศิลปและวัฒนธรรมอีสาน,
ทุ่งพานู รอเสนา. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในประเพณีเซิ้งผ้าหมี่ของเทศบาลตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิยพรรณ (ผลวัฒนะ) วรรณศิริ. (2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ในตะวัน กำหอม. (2555). ผ้าในศิลปะการเซิ้ง : การอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อส่งเสริมการแสดงในงานบุญบั้งไฟ. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ในตะวัน กำหอม. (2558). แตรวงชาวบ้าน : รูปแบบการจัดการภูมิปัญญาเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ความหลากหลายทางวัฒนธรรม. คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 12 เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม.
ในตะวัน กำหอม. (2559). ผ้าหมี่ : การอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อส่งเสริมวิถี วัฒนธรรมชุมชน ตำบลขวาวอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดความหลากหลายทางวัฒนธรรม. คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับที่ 26 ปีที่ 12 เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม.
รัชฎา คชแสงสันต์. (2553). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมเชิงนิเวศของแหล่งท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยมหิดล.
รัฐฑิตยา หิรัณยหาด. (2554). แนวทางการพัฒนาเพื่อส่งเสริมศักยภาพหมู่บ้านวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว : กรณีศึกษาบ้านหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Cohen, J.M. and Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.
Oakley, P. (1984). Approaches To Participation In Rural Development. Geneva : Internation Office.
Reeder, W.W. (1974). Some Aspects of The Information Social Participation of Farm Families in New York State. New York: Unpublished Ph.D Dissertation, Cornell University.
Risk and Climate Change. (2004). “Erratum to : Perceptions of Key Policy Actors in Canada”, by Richard C. Stedman, in Risk Analysis, 24(5).
United Nation, Department of Internation Economic and Social Affair. (1981). Popular Participation as a Strategy for Promoting Community Level Action and Nation Development. Report of The Meeting for The Adhoc Group of Expert, New York : United Nation.