แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วิชาญ เหรียญวิไลรัตน์ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การปฏิบัติงาน, ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา, ศาสนาและวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาและเพื่อเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลขวาว  อำเภอเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด  ด้านความสำเร็จในงาน การได้รับการยอมรับนับถือ ลักษณะของงานที่ทำ ความรับผิดชอบต่องาน ความก้าวหน้าในอาชีพ นโยบายและการบริหารงาน ความสัมพันธ์กับผู้บริหาร สภาพการทำงาน วิถีชีวิตส่วนตัว และความมั่งคงในกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 163 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/รองผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5 คน สถานศึกษา       ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 จำนวน 9 คน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 จำนวน 26  คน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 จำนวน 37 คน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 จำนวน 60 คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5  จำนวน 26 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตารางของเครจชีและมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบระดับประมาณค่า ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .746  สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ค่าทีการทดสอบค่าเอฟ

          ผลการศึกษา พบว่า  แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมศูนย์ของพัฒนาเด็กเล็ก  เทศบาลตำบลขวาว  อำเภอเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก   เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า แรงจูงใจใน การปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์กับผู้บริหาร อยู่ในระดับ มาก รองลงมาคือ นโยบายและการบริหารงาน และน้อยที่สุด ความมั่นคงในงาน

References

กาญจนา ตรีรัตน์. (2554). ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรส่ายสนับสนุนการประถมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานพินธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โกมล บัวพรหม. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฏร์ธานี เขต 3. ภาคนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี.

จารุวรรณ ใจเพียร. (2551). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 2. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขากาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฏร์ธานี.

จิตติมา วัดตูน. (2554). เหตุจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนสายสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชาญวุฒิ บุญชม. (2553). ความสัมพันธ์ต่อองค์การศึกษาเฉพาะกรณีบุคลากรโรงเรียนอิสลามสันติชนภาคนิพนธ์. ศศ.ม. (พัฒนาสังคม) บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เดี่ยว จารุวุฒิพันธ์. (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษากลุ่มเครือข่ายโรงเรียนหนองหัววัวอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยาลัยทองสุข.

ทวีศักดิ์ รองแขวง. (2555). อิทธิพลของคุณลักษณะงานต่อแรงจูงใจในการทำงาน กรณีศึกษา : สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร.

นิตา โครตรศรีเมือง. (2546). ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสนับสนุน สังกัด สำนักงานอธิบดี มหาลัยบูรพา. งานนิพนธ์ของหลักสูตรการจัดการ มหาบัณฑิตตามวิทยาลัยบูรพา

นุชรา เพิ่มพูล. (2550). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนวัดลาดสนุ่น จังหวัดปทุมธานี. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์

ในตะวัน กำหอม. (2558). การวิจัยทางการศึกษา. วิทยาลัยทองสุข.

ผาสุด จิตราวาร. (2548). แรงจูงใจการทำงานของข้าราชการครู โรงเรียนชลกันยานุกุล. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการบริหารทั่วไป) มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรศิลป์ ศรีเรืองไร. (2553). การศึกษาปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พิชชาภัสส์ ธนัชญ์จุฑานนท์. (2556). การสร้างแบบวัดขวัญกำลังใจการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวัดผลการศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิมพ์พิชชา ศรีเอื่ยม. (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนศาลาตึกวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยทองสุข.

มาโนช โลหเตปานนท์. (2558). ภาวะผู้นําแรงจูงใจ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

เย็นตะวัน แสงวิเศษ. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฏร์ธานี.

วรรณภา เสนา. (2554). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานสายการผลิตบริษัทบิวตี้เจมส์ แฟคตอรี่จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วัฒนา โถสุวรรณ. (2546). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

วิชัย ต้นศิริ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เรื่อง การศึกษา – กฎหมายระเบียบ.

วิมล จำปาทอง. (2556). แรงจูงใจการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดเทศบาลตำบลเมือง อำเภอเมืองสมุทรปาการ จังหวัดสมุทรปราการ. สารนิพนธ์ศึกษศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยทองสุข.

ศิริพร จันทศรี. (2550). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ที่มีระดับการรับรู้ความสามารถของตนแตกต่างกัน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ.

สมคิด กลับดี. (2549). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษา ชลบุรีเขต 3. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา.

โสภา แก้วเนย. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนฝั่งธนสามัคคีอำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย. สารนิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยทองสุข.

อภิชัย จันทร์เทศ. (2548). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนจินดาบำรุง เขตคันนายาว กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

28-11-2021