การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์

ผู้แต่ง

  • พระครูสาครธรรมประสิทธิ์ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

การพัฒนาประสิทธิผล,, การบริหารกิจการคณะสงฆ์, หลักการจัดองค์การ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของคณะสงฆ์      เป็นกรณีศึกษาวัดในเขตจังหวัดสมุทรสาคร 6 ด้าน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพระสังฆาธิการจำนวน 385 รูป ผลการวิจัยพบว่าพระสังฆาธิการส่วนใหญ่มี อายุ 41–50 ปี มีพรรษา 21–30 พรรษา จบปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จบนักธรรมชั้นเอกและไม่มีวุฒิทางเปรียญธรรม ประสิทธิผลของการบริหารกิจการคณะสงฆ์พบว่าอยู่ในระดับมากในทุกด้าน ได้แก่ ด้านงานสาธารณูปการ ด้านงานการปกครอง ด้านงานศึกษาสงเคราะห์     ด้านงานศาสนศึกษา ด้านงานเผยแผ่ศาสนธรรมและด้านงานสาธารณสงเคราะห์

ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ สรุปว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดประสิทธิผลของการบริหารกิจการคณะสงฆ์ มากที่สุดโดยลำดับได้แก่ ภาวะผู้นำของเจ้าอาวาส(Ŷ = 0.374X1 + 0.491X2) ค่าR Square = 0.805  คุณภาพการบริหาร (Ŷ = 0.742X1 + 0.325X2 - 0.453X3 )  ค่า R Square = 0.793 และการมีส่วนร่วมสนับสนุน(Ŷ = 0.245X1 - 0.120X2 - 0.255X3)ค่า R Square = 0.716ตามลำดับ โดยมีสมการพยากรณ์ Ŷ =  0.429X1 + 0.421X2+ 0.418X3 ค่า R Square = 0.761 

การวิจัยนี้ได้ค้นพบทฤษฎีสำคัญที่ส่งผลให้เกิดประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์คือทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีการบริหารและทฤษฎีการมีส่วนร่วมและได้สะท้อนให้เห็นว่าวัดยังมีการบริหารงานตามทฤษฎีองค์การในระบบปิดเพราะประสิทธิผลของการบริหารกิจการคณะสงฆ์ยังขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสเป็นหลักจึงควรที่จะเปิดการบริหารกิจการวัดให้มีผู้มีส่วนร่วมสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมภายนอกตามทฤษฎีองค์การระบบเปิดให้มากยิ่งขึ้นและมีการปรับโครงสร้างการแบ่งงานของการบริหารวัดให้มีรองเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสผู้รับผิดชอบในด้านต่างๆและมีคณะสงฆ์ปฏิบัติหน้าที่รองรับในแต่ละด้านอย่างเป็นระบบตามหลักการจัดองค์การที่ยึดหลักกฎหมายและเหตุผล

References

กิติมา ปรีดีดิลก. (2529). การบริหารและเทคนิคการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : อัษราพิพัฒน์.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เฉลิมชัย เสียงใหญ่. (2551). พระสงฆ์กับภาวะผู้นำ. คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตฺโต). (2529). การศึกษาคณะสงฆ์ไทย ปัญหาที่รอทางออก. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พระไตรปิฎกภาษาไทย. (2539). ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2544). พุทธศาสนากับสังคมปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : กรุงเทพปริ้นเฮ้า.

พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยฺมงคโล). (2545). หลักธรรมสู่ความสำเร็จและสันติสุข. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมสภา.

พระธรรมกิตติวงศ์. (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9). (2547). คำวัดที่ชาวพุทธควรรู้. พิมพ์ครั้งที่ 1.

พระธรรมปริยัติโสภณ. (2548). การบริหารกิจการคณะสงฆ์แนวพุทธ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2021