การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ (เอมพันธ์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธจริยธรรม, จริยธรรมทางการเมือง, ผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ 2. เพื่อศึกษามาตรฐานจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ และ 3. เพื่อประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 23 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คนตามสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสิทธิ์เลือกตั้งซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของจังหวัดชัยภูมิแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 587,556 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพทั่วไปของจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิที่มีความสำคัญ ได้แก่ 1) ยึดมั่นในสถาบันหลักอันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยการรู้คุณค่าของสถาบันหลัก การเข้าร่วมในงานรัฐพิธีเนื่องในวโรกาสสำคัญ การน้อมนำเอาแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต การเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาในวันสำคัญทางศาสนา การแสดงความเคารพสถาบันโดยการติดธงชาติ และธงตราสัญลักษณ์บริเวณหน้าบ้าน 2) ซื่อสัตย์สุจริต และมีจิตสำนึกที่ดีในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ โดยการเข้าร่วมประชุมสภาเห็นชอบร่างข้อบัญญัติงบประมาณด้วยความซื่อสัตย์สุจริต      มีการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามข้อบัญญัติงบประมาณ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิต และมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง 3) กล้าตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม โดยการติดตามโครงการพัฒนาที่ได้ใช้จ่ายงบประมาณ การเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการติดตามแผนการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้ทันต่อสถานการณ์ กล้าตัดสินใจ และรู้คุณค่าของเวลา 4) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ โดยการเข้าร่วมประชุมในการจัดเวทีประชุมประชาคม การเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะประโยชน์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมของชุมชน เช่น การปลูกต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะประโยชน์ การทำความสะอาดรอบบริเวณหมู่บ้านและชุมชน การคัดแยกขยะเพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน 5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยการติดตามการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนการพัฒนา และการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามข้อบัญญัติงบประมาณหรือไม่โดยมุ่งผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ การมีเหตุผล และส่งเสริมสนับสนุนการใช้เหตุผลในการบริหารงาน 6) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ โดยการปฏิบัติตนตามกฎเกณฑ์ ระเบียบ กติกามารยาทของสังคม การเห็นชอบในการใช้จ่ายงบประมาณครอบคลุมในทุกพื้นที่ ไม่ดูแลเฉพาะในพื้นที่ของตน และ 7) ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี และรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ โดยการเป็นผู้นำที่ประพฤติตนอยู่ในจริยธรรมเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในที่สาธารณะ การแต่งกายสุภาพ สนับสนุนและส่งเสริมสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น 2. มาตรฐานจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.56, S.D.=0.72) 3. การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.64, S.D.=0.71)

References

ภาษาไทย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

ณัฐดนัย แก้วโพนงาม. (2560). เศรษฐศาสตร์การเมืองในบริบทสังคมไทยภายใต้สภาวะความขัดแย้งในจังหวัดชัยภูมิ. รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูรัตนสุตากร (ปราโมทย์ ล่องแก้ว) และคณะ. (2563). การพัฒนาการเมืองตามหลักพุทธธรรม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ตุลาคม.

พระไพศาล วิสาโล. (2546). พระพุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้นและทางออกจากวิกฤติ. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.

พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ (เอมพันธ์). (2562). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำตามแนวพุทธ. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน.

พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม. (2562). ราชกิจจานุเบกษา 136 เมษายน 2562.

รังสิทธิ วิหกเหิน และคณะ. (2559). พุทธจริยธรรมแนวคิดปรัชญาและกระบวนการเสริมสร้างสังคมสันติสุข

ในจังหวัดบุรีรัมย์. รายงานการวิจัย เงินทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์. (2561). จริยธรรมของนักการเมืองในระบบการเมืองไทย. วารสารสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ฉบับที่ 1 ปีที่ 6 มกราคม-มิถุนายน.

สมโพชน์ กวักหิรัญ. (2555). บูรณาการการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลด้วยหลัก

สัปปุริสธรรม. ศาสนศาสตรดุษฏีนิพนธ์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนาและปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ภาษาอังกฤษ

Silverman. D. (2000). Doing Qualitative Research: A Practical Handbook. London. Sange.

Yamane. Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York. Harpen and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-11-2021