พระสงฆ์กับบทบาทในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
พระสงฆ์, บทบาทในการพัฒนาชุมชน, สมุทรสาครบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 375 คน โดยใช้ได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) แบบเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ความ เชื่อมั่น เท่ากับ 0.897 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) และ เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อย สุดของเซฟเฟ่ (Scheffe’s method) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสังคม มีค่าเฉลี่ย มากสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรมและด้านเศรษฐกิจ ส่วนด้านสาธารณสุข มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด และเมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า ประชาชนที่มีความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า ประชาชนที่มีเพศแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาท ของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการส่งเสริม บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ประชาชนได้เสนอแนะบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน ด้านสังคม ได้แก่ พระสงฆ์ควรเทศนาและอบรม ให้ประชาชนในชุมชนมีความรักใคร่สามัคคีกันในชุมชน ปฏิบัติตนในการเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตนตามแนวพระพุทธศาสนา ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ พระสงฆ์ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จัดให้วัดเป็นศูนย์รวมในการสนับสนุนการประกอบอาชีพหรือส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในชุมชน ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ พระสงฆ์ควรอบรมให้ควรรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และประเพณีต่างๆ ให้กับเด็ก และเยาวนในชุมชน เพื่อสืบทอดต่อไป ด้านสาธารณสุข ได้แก่ พระสงฆ์ควรปฏิบัติตนแบบอย่างที่ดี และนาธรรมะมาใช้ส่งเสริมในการบำบัดโรคหรือยาเสพติดแก่ประชาชนในชุมชน และด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พระสงฆ์ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการรักษาความสะอาดให้กับชุมชนและฟื้นฟู อนุรักษ์ ป่าไม้และต้นน้ำในชุมชน
References
เปลี่ยน พากเพียร. (2537). บทบาทหน้าที่ของศึกษาธิการอำเภอตามความคิดเห็นของหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอและผู้บริหารโรงเรียน จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประเวศ วะสี . (2541). ประชาคมตำบลยุทธศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจพอเพียงศีลธรรมและสุขภาพ. กรุงเทพฯ : มติชน.
พระมหาวิเชียร ชาญณรงค์. (2544). บทบาทพระสงฆ์ในการนาหลักธรรมมาใช้ทากิจกรรมงานพัฒนา ชุมชนเพื่อ ลด ละ เลิก อบายมุข ศึกษาเฉพาะกรณีพระครูศีลาวราภรณ์ (เฉลิม ฐิติสีโล). วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระมหาณรงค์ จิตฺตโสภโณ. (2549). “พระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
พระมหาพนมนคร มีราคา. (2549). การดำรงสมณเพศของสามเณรโรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัยอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระครูสุวรรณวรการ. (2553). ศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในจังหวัดปทุมธานี. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูนนทมงคลวิศิษฐ์. (2556). บทบาทพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดนนทบุรี. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณร าชวิทยาลัย .
พรชัย พันธุ์ธาดาพร. (2559). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
พระมหาฉันทยา คนเจน. (2559). บทบาทพระสงฆ์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษา พระอาจารย์สุบิน ปณีโต. ปริญญานิพนธ์เศรษฐศาสตร์การพัฒนามนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระมหาโยธิน โยธิโก. (2560). บทบาทพระสงฆ์ไทยในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตขอนแก่น.